img


แนะนำวิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้า คำนวณค่าไฟเองง่ายๆ ไม่มีพลาด

มิเตอร์ไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านหรืออาคาร ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงข้อมูล เพื่อใช้สำหรับคำนวณค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคน เพราะช่วยให้ทราบว่ามีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไปเท่าไร เพื่อที่จะได้มีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมิเตอร์ไฟฟ้านั้นมีด้วยกันหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการอ่านค่าที่แตกต่างกัน บทความนี้ Global House จะชวนทุกคนไปเรียนรู้วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้า ว่าในแต่ละส่วนที่แสดงบนหน้าปัดนั้นบ่งบอกถึงอะไร 

มิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร

มิเตอร์ไฟฟ้า คือ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปในแต่ละช่วงเวลา โดยปกติแล้วมิเตอร์ไฟฟ้าจะติดตั้งอยู่ภายนอกบ้านหรืออาคาร เพื่อวัดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ก่อนส่งเข้าบ้าน พร้อมทั้งแสดงค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ อีกทั้งยังเป็นเครื่องที่ช่วยบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของเราได้อีกด้วย เพื่อใช้ในการประเมินหาสาเหตุว่าแต่ละเดือนค่าไฟขึ้นมาจากการใช้งานในส่วนใด 

มิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่แบบ

มิเตอร์ไฟฟ้านั้นมีหลายรูปแบบแบบ การเลือกใช้มิเตอร์ขึ้นอยู่กับขนาดของสถานที่ใช้งาน ประเภทของไฟฟ้าที่ใช้ และฟังก์ชันการทำงาน หากจำแนกประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้าตามระบบไฟฟ้าสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส

มิเตอร์ไฟฟ้าแบบวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส (Single phase watt-hour meter) เป็นอุปกรณ์วัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส ที่ใช้หลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวดกระแสไฟฟ้า และขดลวดแรงดันไฟฟ้า วัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่า โดยใช้แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนทำให้จานหมุน และใช้ชุดเฟืองไปขับชุดตัวเลขให้แสดงค่าออกมาบนหน้าปัด ซึ่งจะแสดงค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (หน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง)

ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส

ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่เราใช้กันทั่วไปในครัวเรือน มีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220V (โวลต์) มีความถี่ 50 Hz (เฮิร์ซ) โดยมีสายไฟประกอบอยู่ 2 สาย สายหนึ่งจะเป็นสายที่กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ หรือสายไลน์ (Current line) จำนวน 1 เส้น ส่วนอีกสายจะเป็นสายที่เดินไว้แต่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายนิวทรัล (Neutral line) จำนวน 1 เส้น ต่อเข้ากับตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะค่าใช้จ่ายในการขอติดตั้งและค่าอุปกรณ์ต่างๆ ไม่สูงมาก โดยมีกำลังไฟครอบคลุมการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันภายในครัวเรือนได้ติ แต่หากสายไฟมีปัญหาขัดข้อง หรือเกิดการใช้ไฟฟ้าพร้อมกันกับบ้านหลังอื่นๆจนโอเวอร์โหลด ก็จะทำให้ไฟดับทั้งบ้าน

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะมีช่องเสียบอยู่ 2 ช่อง ถ้าเอาไขควงสำหรับตรวจกระแสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟแดงปรากฏ แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร ปัจจุบันปลั๊กไฟมี 3 ช่อง เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน (Ground) เป็นการเพิ่มความปลอดภัย หากเกิดไฟรั่วกระแสไฟฟ้าจะไหลลงดิน และปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้กับ ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขา

หลักการทำงานของมิเตอร์ 1 เฟส

มิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส หรือที่เรียกว่า มิเตอร์ไฟบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคารทั่วไป ทำงานโดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดกระแส สนามแม่เหล็กจะหมุนขึ้นจากขดลวดกระแส ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวดแรงดัน ในขณะเดียวกันกระแสไฟฟ้าในขดลวดแรงดัน ก็จะสร้างสนามแม่เหล็กหมุนอีกหนึ่งชุด ซึ่งแรงบิดของแม่เหล็กจากสนามแม่เหล็กทั้งสองชุด จะหมุนจานอะลูมิเนียม โดยอัตราการหมุนของจานอะลูมิเนียม จะแปรผันตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ซึ่งกลไกการวัดจะแปลงการหมุนของจานอะลูมิเนียม มีหน่วยเป็น kWh และแสดงบนหน้าปัดให้ได้เห็นนั่นเอง

องค์ประกอบของมิเตอร์ 1 เฟส

มิเตอร์ไฟฟ้าเฟส 1 มีองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

  • ขดลวดกระแสต่ออนุกรมกับสายไฟขาเข้า ทำหน้าที่ในการรับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
  • ขดลวดแรงดันต่อขนานกับสายไฟขาเข้า ทำหน้าที่ในการรับแรงดันไฟฟ้า
  • แกนเหล็ก ทำหน้าที่ให้ขดลวดกระแส และขดลวดแรงดันพันไว้
  • จานอะลูมิเนียม วางอยู่ระหว่างขดลวดกระแสและขดลวดแรงดัน โดยจะหมุนตามแรงบิดของแม่เหล็ก
  • กลไกการวัด แปลงการหมุนของจานอะลูมิเนียมเป็นหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ที่จะแสดงบนหน้าปัด

2. วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส

วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส (Three phase watt-hour meter) คือ อุปกรณ์วัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้า 3 เฟส ทำหน้าที่วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้บริโภคในหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) โดยจะวัดกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟส และคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้บริโภคทั้งหมด 

ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 

ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่เหมาะกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ อพาร์ทเมนท์ โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า บ้านหรืออาคารขนาดใหญ่ โดยมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 380V(โวลต์) ความถี่ 50 Hz (เฮิร์ซ) มีสายไฟประกอบอยู่ 4 สาย โดยสายหนึ่งจะเป็นสายที่กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ หรือสายไลน์ (Current line) จำนวน 3 เส้น ส่วนอีกสายจะเป็นสายที่เดินไว้แต่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายนิวทรัล (Neutral line) จำนวน 1 เส้น ต่อเข้ากับตู้เมนไฟฟ้า การติดตั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เนื่องจากมีทั้งค่าติดตั้งและค่าประกันไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาว ฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณมาก

หลักการทำงานของมิเตอร์ 3 เฟส

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นได้โดยตรง แต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไปตามจุดต่างๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟมาจ่ายได้ตั้ง 3 เส้น จะต้อมการออกแบบระบบสายไฟ ด้วยผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรไฟฟ้า ในการจัดกระจายโหลดกับสายไฟ ช่วยให้การควบคุมพลังงานไฟฟ้าได้ดีกว่า หากสายไฟบางเส้นดับ ไม่ได้ดับทั้ง 3 เส้น จะทำให้ไฟดับบางจุด ไม่ได้ดับทั้งบ้าน แต่ถ้าดับที่หม้อแปลง หรือเสาไฟฟ้าล้ม จะทำให้ไฟดับทั้งหมด

องค์ประกอบของมิเตอร์ 3 เฟส

มิเตอร์ไฟฟ้า 3 เฟส มีองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

  • ตัววัดกระแส (Current Element) ทำหน้าที่วัดค่ากระแสไฟฟ้าทั้ง 3 เฟส 
  • ตัววัดแรงดัน (Voltage Element) ทำหน้าที่วัดค่าแรงดันไฟฟ้าทั้ง 3 เฟส 
  • ดิสก์อะลูมิเนียม (Aluminum Disc) 
  • ชุดเกียร์ (Gear Train) ปรับอัตราทดเกียร์ เพื่อแปลงจำนวนรอบของดิสก์อะลูมิเนียม ให้เป็นหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh)
  • หน้าปัดแสดงผล (Register) แสดงค่าการใช้ไฟฟ้าสะสม

มิเตอร์ไฟฟ้าบ้านควรเลือกใช้แบบไหน

การเลือกใช้มิเตอร์ไฟฟ้าบ้านให้มีความเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบเหล่านี้ 

1. ขนาดมิเตอร์

ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้านั้นสามารถวัดได้จากจำนวนแอมป์ (A) ที่สามารถจ่ายไฟได้ โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า มิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ โดยมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไปมีขนาด ดังนี้ 

  • ขนาดมิเตอร์ 5(15)A 1 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์ เหมาะกับบ้านขนาดเล็ก มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45)A 1 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์ เหมาะกับบ้านขนาดกลาง คอนโด เป็นขนาดที่ใช้กันทั่วไป
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100)A 1 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์ เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150)A 1 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์ เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่ หรืออาคารสำนักงาน
  • ขนาดมิเตอร์ 15(45)A 3 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30(100)A 3 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50(150)A 3 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200A 3 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400A 3 เฟส ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์

2. ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าที่เหมาะกับการใช้งานภายในครัวเรือน นิยมระบบไฟฟ้า 1 เฟส (Single Phase) ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้สายไฟ 2 เส้น โดยมีสายที่มีแรงดันไฟฟ้า (Hot Wire) และอีก 1 เส้นเป็นสายกราวด์ (Neutral Line) แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในระบบ 1 เฟสในประเทศไทยโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ 220 โวลต์

3. ฟังก์ชันการใช้งาน

นอกเหนือจากปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น การเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวก ก็ช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งฟังก์ชันการใช้งานของมิเตอร์ไฟฟ้ามี ดังนี้

  • มิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัล แสดงค่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าแบบดิจิทัล ซึ่งมีความสะดวกสบายในการอ่านค่าต่างๆได้ง่าย
  • มิเตอร์ไฟฟ้าแบบจ่ายไฟล่วงหน้า เป็นรูปแบบมิเตอร์ที่จะมีการเติมเงินก่อนใช้งาน เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย
  • มิเตอร์ไฟฟ้าแบบควบคุมเวลา โดยการตั้งเวลาเปิด-ปิดไฟฟ้าได้ เหมาะกับผู้ต้องการประหยัดไฟ

วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตัวเอง

การอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตัวเองเป็นนั้นมีส่วนช่วยให้สามารถตรวจสอบปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อนำไปวิเคราะห์รูปแบบการใช้ไฟฟ้า และหาแนวทางประหยัดไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่ามีการใช้ไฟฟ้าผิดปกติหรือไม่ ไปดูกันว่าวิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตัวเองต้องดูอะไรบ้าง

1. MEA หรือ PEA No. 

MEA (Metropolitan Electricity Authority) คือ การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่จะจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วน PEA (Provincial Electricity Authority) คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟภ. เป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่หลักในการจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ยกเว้นในเขตพื้นที่ของ MEA 

สำหรับ MEA หรือ PEA No. ที่แสดงบนมิเตอร์ไฟฟ้า แสดงถึงเลขรหัสเครื่องวัดแต่ละเครื่อง ดังนั้นเมื่อได้รับบิลค่าควรตรวจสอบให้ดีว่าเลขในบิลกับมิเตอร์ไฟฟ้านั้นตรงกันหรือไม่ เพื่อช่วยยืนยันว่าเราจ่ายค่าไฟถูกจริงๆ 

2. เลขหน่วยไฟฟ้า

เลขหน่วยไฟฟ้า คือ ตัวเลขแสดงจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ไป โดยมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยตัวเลขที่แสดงบนมิเตอร์ไฟฟ้า จะมีตัวเลขหลายหลัก แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ 

  • กลุ่มตัวเลขหลัก แสดงจำนวนหน่วยกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ที่ใช้ไป 
  • กลุ่มตัวเลขจุดทศนิยม แสดงจำนวนหน่วยย่อย (กิโลวัตต์) เพิ่มเติม

3. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส

ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยจะมีหลักๆ ที่นิยมใช้อยู่ 2 แบบคือ ระบบไฟฟ้า 1 เฟส และระบบไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะนิยมใช้ในครัวเรือน อาคารสำนักงาน แต่ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรจำนวนมาก มีการใช้ไฟเยอะ ซึ่งระบบเฟสของไฟฟ้าก็จะแสดงอยู่มิเตอร์ด้วยเช่นกัน 

4. แรงดันไฟฟ้า

แรงดันไฟฟ้า คือความแตกต่างของพลังงานศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดต่อหน่วยประจุไฟฟ้า เปรียบเสมือนแรงผลักดันที่กระตุ้นให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า ซึ่งไฟบ้านจะมีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์ ส่วนโรงงานที่ใช้เครื่องจักรใหญ่ๆ จะมีแรงดันตั้งแต่ 380 – 400 โวลต์ ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ควรตรวจสอบให้ดีว่ามิเตอร์ไฟที่ใช้อยู่นั้นสามารถรับแรงดันได้เท่าไร เพราะหากใช้ผิดประเภทอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้นั่นเอง 

5. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

มิเตอร์ไฟฟ้ามีหน้าที่วัดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้าในบ้านมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 

6. วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า

การคำนวณค่าไฟในแต่ละเดือนนั้นจะจะต้องรู้ค่าไฟฟ้าฐาน ค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยสามารถคิดได้ตามสูตร ดังนี้

  • ค่าไฟฟ้ารวม = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนะนำวิธีประหยัดค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแนะนำ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีแนวทางในการประหยัดไฟ ซึ่งได้แนะนำด้วยกันทั้งหมด 6 วิธี ดังนี้

  • เปิดประตูหน้าต่าง เพื่อรับลมธรรมชาติ ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก ไม่ทำให้ตัวบ้านร้อนอบอ้าว
  • เมื่อไม่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ถอดปลั๊กออกทุกครั้ง
  • เลือกใช้หลอดไฟ LED เพราะกินไฟน้อยกว่า อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • เมื่อชาร์จแบตเตอร์รีเต็มแล้วควรถอดปลั๊กออกเสมอ ไม่ควรชาร์จทิ้งไว้
  • เปิดแอร์อุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟ 
  • เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เพราะแสดงให้เห็นว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟ โดยผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน ตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด

แนะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5

เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5 คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนดที่จาก ซึ่งเป็นการรับรองว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นนั้น มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุด ประหยัดไฟมากที่สุด เมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน

1. LG เครื่องปรับอากาศ DUAL Cool Pro ขนาด 12,000 BTU รุ่น ICL13MN.JU1

  • เครื่องปรับอากาศ LG มีการออกแบบด้วยเทคโนโลยี Dual Inverter Compressor ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสุด ที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้นและเย็นเร็วขึ้น
  • มีแผ่นกรองฝุ่นแบบละเอียด ที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ ช่วยให้ดีต่อสุขภาพ
  • มีระบบในการทำความสะอาดอัตโนมัติ ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเชื้อโรคและแบคทีเรีย ช่วยให้อากาศภายในห้องมีความสดชื่น และสะอาด

2. BEKO เครื่องซักผ้าฝาบน 16 กก. WTLI160S


  • เครื่องซักผ้า BEKO ฝาบน 16 กก. WTLI160S มีการนำเทคโนโลยี AquaSonic+™ มาปรับใช้ ช่วยให้ขจัดสิ่งสกปรกได้ล้ำลึก ด้วยคลื่นน้ำ 
  • มีโปรแกรมการซักให้เลือกมากมาย ตามความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน
  • เครื่องซักผ้า BEKO มีการปรับสมดุลในการสักอย่างลงตัว

3. HITACHI ตู้เย็น 2 ประตู 19.4 คิว RVG550PDX GBK

  • ตู้เย็น HITACHI 2 ประตู 19.4 คิว RVG550PDX GBK มีการทำงานด้วยเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์และระบบ New Dual Fan Cooling ที่ช่วยกระจายความเย็นได้อย่างทั่วถึง ช่วยให้อาหารยังคงคุณค่าทางโภชนาการได้นานขึ้น 
  • มี Nano Titanium ที่ช่วยรักษาอากาศในตู้เย็นให้มีความสะอาดเสมอ ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในตู้เย็นได้
  • มาพร้อมกับระบบละลายน้ำแข็ง No Frost Type และ ระบบทำน้ำแข็งอัตโนมัติ Automatic ICE Maker ซึ่งช่วยให้ใช้งานได้ง่าย และมีความสะดวกสบาย

4. LEKISE หลอดไฟ LED A60 5W รุ่น KLASSIC แสงเดย์ไลท์

  • หลอดไฟ LEKISE เลือกใช้เม็ด แอล อี ดี SMD2835 คุณภาพสูงในการผลิต ทำให้ไม่มีสารอันตราย จึงมีความปลอดภัยในการใช้งาน 
  • ในส่วนของฝาครอบฉีดขึ้นรูปด้วยโพลีคาบอเนต ทำให้ได้แสงไฟที่มีความนวลตา ไม่แสบตา
  • ตัวหลอดขึ้นรูปด้วยอะลูมิเนียมหุ้มพลาสติก ซึ่งมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดี และมีความปลอดภัยในการใช้งาน

สรุป

บทความนี้คงช่วยตอบคำถามที่หลายๆ คนสงสัยได้แล้วว่า มิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร หรือมิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่แบบ พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้เราทราบปริมาณไฟฟ้าที่ใช้จริงในบ้านแต่ละเดือน เพื่อที่จะได้วิเคราะห์การใช้ไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งหาแนวทางในการลดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในกรณีที่ค่าไฟส่วนใหญ่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ ควรมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เพื่อช่วยให้ประหยัดไฟ สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องใช้ไฟ้าที่มีฉลากประหยัดเบอร์ 5 ที่ Global House มีเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแอร์ติดผนัง เครื่องซักผ้าฝาบน พัดลม นอกจากนี้ยังมีมิเตอร์ไฟฟ้าอีกด้วย 

คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 1,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 100 บาท
  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 9,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 1,000 บาท
  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม แลกซื้อเครื่องดื่ม ที่ลามายอนคอฟฟี่ทุกสาขา

Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว

เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่

บริการช่างดี




เนื้อหาที่คล้ายกัน