การเดินสายไฟ (Electrical Wiring) เป็นการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อใช้ภายในบ้าน โดยการติดตั้งสายไฟ เพื่อแจกจ่ายไฟฟ้าไปยังจุดต่างๆ ภายในบ้าน ให้สามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ซึ่งระบบไฟฟ้าที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไปนั้นจะเป็นกระแสสลับระบบหนึ่งเฟส 2 สาย ซึ่งการเดินสายไฟนั้นจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเลือกรูปแบบการเดินสายที่เหมาะกับโครงสร้างของอาคาร และสถานที่ เพื่อให้มีการจ่ายกำลังไฟฟ้า และสามารถใช้พลังงานในจุดต่างๆ ของบ้านได้อย่างทั่วถึง ที่สำคัญยังช่วยลดการเกิดปัญหาความขัดข้องในการจ่ายไฟด้วย
ระบบไฟฟ้า เป็นระบบที่ช่วยให้เราสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และแสงสว่างภายในบ้าน ซึ่งการเดินสายไฟฟ้านั้นต้องมีการออกแบบและติดตั้งโดยช่างไฟที่มีความเชี่ยวชาญ มีการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า และรูปแบบการติดตั้งที่มีความเหมาะสมกับบ้าน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากความสวยงามเป็นระเบียบแล้ว ยังช่วยให้มีการใช้งานเครื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย หมดกังวลเรื่องปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร นอกจากนี้การเดินสายไฟที่ถูกต้องยังทำให้การจ่ายไฟมีความเสถียร กระแสไฟฟ้ามีความทั่วถึง ช่วยลดปัญหาไฟตก ไฟกระตุก หรือไฟดับอีกด้วย
การเดินสายไฟในบ้านสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ แบบฝังผนัง และแบบเดินลอย ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็จะมีความแตกต่างกัน สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกทำแบบไหนดี ไปดูกันว่าทั้งสองรูปแบบนั้นมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
การเดินสายไฟแบบฝังผนังจะต้องวางแผนควบคู่ไปพร้อมๆ กับการก่อสร้าง เพราะการเดินสายไฟแบบฝังผนังนั้นจะต้องฝังสายไฟไว้ในผนัง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นสายไฟได้ ช่วยทำให้บ้านดูเป็นระเบียบ แต่หากต้องการแก้ไข เพิ่มจุดต่อไฟในอนาคตอาจทำได้ยาก และใช้งบประมาณค่อนข้างมาก เพราะต้องเจาะผนังเดิม เพื่อเพิ่มจุดต่อไฟ สำหรับข้อดี-ข้อเสียของแบบฝังผนังมีดังนี้
ข้อดีของการเดินสายไฟแบบฝังผนัง
ข้อเสียของการเดินสายไฟแบบฝังผนัง
การเดินสายไฟแบบลอย คือ การยึดสายไฟติดเข้ากับผนังบ้าน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ติดตั้งได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อน แต่ในกรณีที่พื้นที่นั้นๆ มีความชื้น มีฝุ่น หรือควันเยอะก็จะทำให้สายไฟมีความสกปรกได้ง่าย ซึ่งการเดินสายไฟแบบลอยแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1.เแบบท่อร้อยสายไฟ และ 2. แบบกิ๊ปรัดสายไฟฟ้าสำหรับการติดตั้งสายไฟแบบลอยจะมีข้อดี-ข้อเสียดังนี้
ข้อดีของการเดินสายไฟแบบเดินลอย
ข้อเสียของการเดินสายไฟแบบเดินลอย
การเลือกเดินสายไฟในแต่ละแบบก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่กำลังสับสนว่าควรเลือกแบบไหนดี ให้ดูรูปแบบของบ้าน และการใช้งานเป็นหลัก สำหรับบ้านที่ดีไซน์มีความหรูหรา อยากให้บ้านมีความเป็นระเบียบให้เลือกแบบฝังผนัง เพื่อให้ผนังมีความเรียบร้อย สะอาดตา ไม่มีแนวสายไฟมากวนใจ แต่สำหรับใครที่ชอบความง่ายๆ เป็นธรรมชาติ อย่างบ้านสไตล์ลอฟท์ บ้านไม้ หรือบ้านปูนเปลือย ต้องการโชว์ความดิบของโครงสร้างบ้าน การติดตั้งสายไฟแบบลอยก็จะมีเสน่ห์ไปอีกแบบ
การเดินสายไฟนอกจากจะเตรียมสายไฟที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน กำลังไฟที่เหมาะกับอาคารแล้ว ยังต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมด้วย เพื่อให้งานมีมาตรฐาน และปลอดภัย
GOLDSEAL ค้อนหงอนด้ามไม้เหรียญทอง
คีม ใช้สำหรับปอกสายไฟ หรือใช้ดัดให้ชิ้นงานได้ตามรูปแบบต่างๆ อีกทั้งยังช่วยยึดจับสายไฟไม่ให้หลุดได้ง่าย
STANLEY คีมปากจิ้งจกหุ้มฉนวนกันไฟ รุ่น 84-002
ไขควง ใช้สำหรับการขันน็อต หรือสกรู เพื่อใช้ในการยึดวัสดุให้ติดกัน
HUMMER ไขควงปากแบนหุ้มฉนวน รุ่น WT-925
สว่าน ใช้สำหรับเจาะเพื่อยึดท่อร้อยสายไฟให้มีความแน่นหนา
BOSCH สว่านกระแทกไร้สาย 13มม. 18V รุ่น GSB18V-50
ปักเต้าตีเส้น ใช้สำหรับการตีเส้นเพื่อให้ได้แนวสายไฟที่สวยงาม และมีแนวระดับตรงกัน
PROMA ปักเต้าพร้อมผงชอล์กสีน้ำเงิน
การเดินสายไฟนอกจากจะเลือกประเภทให้เหมาะสมกับบ้านแล้ว ยังต้องเลือกประเภทของสายไฟที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย ซึ่งสายไฟที่ใช้ในครัวเรือนมักจะใช้แรงดันไฟต่ำ ซึ่งจะมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 450/750 โวลต์ หรือไม่เกิน 750 โวลต์
สายไฟประเภท VAF เป็นสายไฟที่ทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลท์ ซึ่งมีทั้งสายแบบกลม และสายแบน โดยจะมีตัวนำไฟฟ้าเป็นสายทองแดงข้างใน ซึ่งเป็นเส้นเดียว สำหรับสายไฟฟ้าแบบ VAF นั้นเหมาะกับการเดินสายไฟแบบเดินลอย
สายไฟฟ้าแบบ THW เป็นสายอีกหนึ่งประเภทที่สามารถใช้ได้ทั้งกับโรงงานอุตสาหกรรม และบ้านพัก ซึ่งสาย THW นั้นเป็นสายไฟฟ้าแบบแข็ง สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้สูงสุด 750 โวลต์ เหมาะกับการเดินสายไฟแบบเดินลอย ไม่เหมาะกับการเดินสายไฟแบบร้อยท่อ หรือแบบฝังผนัง เนื่องจากเป็นสายที่ไม่ทนความชื้น
สายไฟแบบ VCT หรือ สายไฟแบบ VCT-G นั้นเป็นสายไฟที่เหมาะสำหรับใช้งานตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งมีให้เลือกใช้งานได้ทั้งแบบแกนเดียว และแบบหลายแกน รวมถึงสายแบบ VCT-C และยังมีแบบมีสายดิน ที่สามารถเดินสายไฟแบบฝังดินได้อีกด้วย ซึ่งสายไฟแบบ VCT หรือ สายไฟแบบ VCT-G นั้นสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 450 โวลต์ ไปจนถึง 750 โวลต์ และทนอุณหภูมิได้สูงสุด 70 องศาเซลเซียส
การเดินสายไฟ นอกจากการเลือกรูปแบบและประเภทของสายไฟที่ต้องใช้แล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อช่วยให้การเดินสายไฟนั้นมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยในการใช้งาน และได้มาตรฐาน ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีดังนี้
การวางตำแหน่งของสวิตช์ และเต้ารับควรเลือกตำแหน่งให้เพียงพอต่อการใช้งาน และที่สำคัญควรวางสูงจากระดับพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้โดนน้ำได้ง่าย ที่สำคัญยังเป็นระยะที่ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ต้องก้ม หรือเงยมากจนเกินไป ที่สำคัญบริเวณที่วางตำแหน่งสวิตช์ ต้องหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้นสูง และบริเวณที่มีความร้อนจัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
วงจรสายไฟย่อย คือสายไฟฟ้าที่เดินจากอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกินตัวสุดท้าย ไปยังจุดจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเต้ารับ ในกรณีที่ตัวบ้านอยู่ในบริเวณที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ถือเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมได้ ต้องมีการป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว ดังนั้นก่อนเดินสายไฟควรคำนึงถึงการติดตั้งสายวงจรย่อย เพื่อช่วยป้องกันการถูกไฟดูด
ตู้เมนไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของบ้าน สำหรับบ้านที่เป็นสองชั้น ควรเลือกติดตั้งตู้เมนไฟฟ้า 2 ตู้ เพื่อแบ่งระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็น 2 ระบบ ซึ่งช่วยป้องกันไฟฟ้าดูดได้ หากชั้นหนึ่งเกิดปัญหาน้ำท่วมจะได้ตัดไฟที่ตู้ชั้นล่าง แต่ไฟฟ้าในตู้ชั้นบนยังสามารถใช้งานได้นั่นเอง
ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นระบบที่ต้องลงทุน เพื่อความปลอดภัยของคนในบ้าน และทรัพย์สินต่างๆ ดังนั้นควรเลือกสายไฟที่มีความเหมาะสมกับอาคาร กำลังไฟมีความพอเหมาะ พอดี ที่สำคัญต้องใช้สินค้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่รับรองมาตรฐาน มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นสินค้าคุณภาพ
เมื่อได้รูปแบบการเดินสายไฟที่เหมาะสมกับสถานที่ และเลือกใช้วัสดุที่ได้มาตราฐานแล้ว จะต้องใช้ช่างมืออาชีพที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ด้านการเดินสายไฟ เพื่อความปลอดภัย ความถูกต้อง และมีมาตรฐาน
หลังจากการเดินสายไฟเข้าบ้าน มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจสอบมีด้วยกัน 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจเช็กตู้โหลดเซ็นเตอร์ไฟฟ้า ว่าติดตั้งเรียบร้อย หรือเกิดรอยแตกหักหรือไม่ พร้อมทั้งทดลองระบบการตัดไฟฟ้าว่าทำงานได้อย่างมีประสิทภาพจริงหรือไม่
2. ตรวจเช็กมิเตอร์ไฟฟ้า การตรวจเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าต้องดูการต่อสายไฟเข้า-ออก และตำแหน่งที่วางว่าเอียงหรือไม่
3. ตรวจสายไฟ เช็กบริเวณที่เดินสายไฟว่ามีการติดตั้งสายไฟ ติดกิ๊ปเรียบร้อยหรือไม่ หรือในส่วนที่เดินสายแบบฝังมีบริเวณใดที่มีช่องโหว่ เป็นช่องเป็นรูหรือไม่ หากมีควรเก็บงานให้เรียบร้อย
4. เช็กปลั๊กไฟ และสายดิน ว่าจุดที่ติดตั้งนั้นสามารถใช้งานได้ครบถ้วนหรือไม่
5. ตรวจสวิตช์ไฟ และไฟฟ้าภายในบ้าน ตรวจสอบว่าบริเวณที่ติดตั้งสวิตช์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ใกล้บริเวณที่มีความชื้นสูงหรือเปล่า รวมทั้งเปิดไฟภายในบ้านว่าติดสว่างทุกดวง ในทุกๆ จุดหรือยัง พร้อมทั้งเช็กการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านว่าใช้งานได้ตามปกติทุกเครื่อง
6. เช็กปัญหาไฟรั่วภายในบ้าน ปัญหาไฟรั่วนั้นถือเป็นเรื่องของความปลอดภัยที่ต้องเช็ก เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทัน โดยทำได้สองวิธีคือ การใช้ไขควงเช็กไฟ และการเช็กที่มิเตอร์ว่าหลังจากที่ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเครื่อง ปิดไฟทุกดวงแล้ว มิเตอร์ยังวิ่งอยู่หรือไม่
การเดินสายไฟเป็นระบบไฟฟ้าภายในบ้านที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากติดตั้งไม่ได้มาตรฐานอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย และทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้ ซึ่งการเดินสายไฟนั้นจะต้องเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับอาคารและรูปแบบการใช้งาน ที่สำคัญจะต้องเลือกประเภทของสายไฟ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้หลังจากติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านเรียบร้อยแล้ว จำเป็นจะต้องมีการเช็กระบบไปในจุดต่างๆ ให้ครบถ้วน หากในจุดใดเกิดปัญหาจะได้แก้ไขได้อย่างทันถ่วงที เพื่อไม่เกิดอันตรายเวลาใช้งานจริง
คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ
เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่
บริการช่างดี
เนื้อหาที่คล้ายกัน