img


คู่มือทําความสะอาดบ้านหลังน้ำลด

"คู่มือทําความสะอาดบ้านหลังน้ำลด"


ฝนตก พายุเข้า น้ำท่วม กลายเป็นปัญหาที่เราเริ่มหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปีนี้ไทยเราถือได้ว่าอ่วมหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาค อีสาน ที่พึ่งประสบกับพายุ 2 ลูก แต่ถึงตอนนี้ เชื่อว่าระดับน้ำในหลายพื้นที่คงเริ่มลดกันไปบ้างแล้ว หลายครอบครัวก็เริ่ม ทยอยกลับเข้าบ้านกันอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อทุกคนกลับเข้าบ้านอาจจะต้องผงะกับสิ่งที่เห็น เพราะบ้านบ้านหลังเดิมอาจจะไม่ เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะไม่เพียงแต่น้ำจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านไปคนละทิศคนละทางแล้ว แต่ยังฝากขยะและ คราบสกปรกทิ้งไว้ตามพื้น กําแพง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ทั้งหลายที่อยู่ในบ้าน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคอีกด้วย ดังนั้นในวันนี้ เราจึงมีวิธีในการทําความสะอาดบ้านอย่างครบครันทุกซอกทุกมุมมาฝากกันค่ะ

เตรียมพร้อมก่อนเข้าบ้าน

- เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมอาทิ แว่นตาช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบูท, ไฟฉาย และ หมวกนิรภัย
- จากนั้นแต่งกายให้พร้อมก่อนเข้าไปในตัวบ้าน สิ่งสําคัญคือห้ามประมาทและอย่าเข้าไปคนเดียวต้องมีคนไปเป็น เพื่อน และต้องมีคนรออยู่ด้านนอก เพื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น




ขั้นตอนก่อนเข้าไปยังตัวบ้านให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. ก่อนเข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือนให้เดินดูบริเวณรอบ ๆ บ้านก่อน โดยสํารวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสีย หายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะเข้าไป
2. ระวังเรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน
3. สังเกตดูรอยร้าว หรือการบิดตัวของโครงสร้างก่อนตัดสินใจเข้าไป
4. ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม
5. ตรวจสอบการจ่ายไฟให้แน่ใจว่าไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสเข้าไปในบ้าน โดยการดูที่คัตเอาท์ว่ายังมีการสับสวิตช์ ลงอยู่หรือไม่
6. เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อย ๆ ใช้เท้าทิ้งน้ำหนักเพื่อ ทดสอบก่อน
7. สังเกตดูเพดานว่ามีการอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพราะเพดานอาจพังทลายลงมาได้เมื่อมีการ เคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง



จัดพื้นที่เก็บขยะ

1. แน่นอนว่าจะมีขยะทั้งของบ้านเราเองและบ้านคนอื่น เลือกที่พักขยะหรือที่แขวนถุงขยะ เพราะสิ่งที่ลําบากที่สุด หลังน้ำลดก็คือปริมาณขยะมากกว่าคนจะมาเก็บขยะ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลา
2. เรียงลําดับ แยกประเภทขยะ ทิ้งขยะที่จะเน่าก่อน เช่น เศษอาหาร ส่วนขยะบางประเภทเก็บไว้ในบริเวณบ้านก่อน ได้แล้วค่อยทยอยทิ้งทีหลัง เช่น โฟม พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ที่พังเสียหาย ส่วนขยะอันตราย จําพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ (ที่ ยังไม่แตก) ควรคัดแยกไว้ต่างหาก แล้วหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสมเป็นลําดับถัดไป

ตรวจเช็คเชื่อโรค-ระบบไฟฟ้า

1. การป้องกันตนเอง เช่น การใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบูท ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา ป้องกันการสัมผัส สารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด รวมทั้งคาดผ้าปิดจมูกและปากที่ช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราและไอระเหยของ สารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
2. ในระหว่างการทําความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด โดยอาจเปิดพัดลมเพดานช่วย ระบายอากาศ
3. ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศและจะกลายเป็นที่เพาะ พันธุ์เชื้อราต่อไป ถือเป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น
4. จากนั้นก็มาเริ่มที่ระบบไฟฟ้าของทั้งบ้าน ซึ่งจะต้องถูกปิดทันทีที่น้ำท่วมบ้าน ดังนั้น ระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด
โดยให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้หมดก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ไฟฟ้า ได้ 5. บางครั้งจําเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด และสายไฟจะต้องแห้งสนิท รวมทั้งสวิตช์ไฟ, เต้าเสียบ ปลั้กไฟต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะมีโคลนตมและตะกอนที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ จึงต้องมีการตรวจเช็คระบบอย่างละเอียด
6. ระบบเครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์มืออาชีพมาตรวจเช็คระบบเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน ทั้งหมด พร้อมทั้งทําความสะอาดท่อต่าง ๆ แผ่นกรองอากาศเปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ ฯลฯ เมื่อช่างแก้ไขให้เสร็จ เรียบร้อยแล้วให้ซีลปิดไว้ก่อนจึงจะเริ่มการทําความสะอาดบ้าน 7. อย่าลืมว่าก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศต้องทําความสะอาดบ้านจนเสร็จเรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น

การทําความสะอาดตามโซนพื้นที่ของบ้าน

1. พื้น
ด้านนอกอาคาร ทําความสะอาดโดยการฉีดน้ำล้าง การขัด และใช้น้ำยาทําความสะอาดต่างๆ สามารถล้างแบบเปียก ได้แล้วทิ้งให้แห้ง สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาด ด้านในอาคาร เช็ดทําความสะอาด หากคราบฝังแน่นให้ขัดด้วยแปรงหรือแผ่นขัดและใช้น้ำยาทําความสะอาดต่างๆ สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วยเพื่อความสะอาด *หมายเหตุ หากพื้นที่กว้างสามารถใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง หรือเครื่องขัดพื้นช่วยทําความสะอาดจะลดเวลาการ ทํางานได้มากขึ้น
- พื้นไม้ สะสมความชื้นสูงควรใช้น้ำยาทําความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทําความสะอาด ล้าง หรือเช็ดถู
- พื้นพรม หากสะสมความชื้นสูง แนะนําให้เปลี่ยนใหม่จะดีกว่า เพื่อความสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากไม่ขึ้นมากให้ ใช้เครื่องซักพรมทําความสะอาด หรือซักล้างด้วยแปรงขัดล้างทําความสะอาด แล้วใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดน้ำเพื่อดูดน้ำกลับ ระวัง พรมบางประเภทไม่ทนต่อน้ำ กาวหรือขนพรมอาจหลุดได้
2. กําแพง
ด้านนอกอาคาร ทําความสะอาดโดยการฉีดน้ำล้าง การขัด และใช้น้ำยาทําความสะอาดต่างๆ สามารถล้างแบบเปียก ได้แล้วทิ้งให้แห้ง สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาด ด้านในอาคาร เช็ดทําความสะอาด หากคราบฝังแน่น ขัดด้วยแปรงหรือแผ่นขัด และใช้น้ำยาทําความสะอาดต่างๆ สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมด้วยเพื่อความสะอาดเพื่อทําความสะอาด แต่สีผนังอาจหลุด จะต้องแต่งใหม่ วอลเปเปอร์ เช็ดทําความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
3. เฟอร์นิเจอร์
ตู้บิวท์อิน เช็ดถูทําความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค เปิดหน้าบานระบายความชื้น
เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ฉีดล้างทําความสะอาด นําตากแดด หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ผ้าจะเปียกและสะสมความชื้นสูง แนะนําให้เปลี่ยนใหม่จะดีกว่า เพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย หากไม่ชื่นมากให้ซักล้างด้วยแปรงขัดล้างทําความสะอาด แล้วใช้ เครื่องดูดฝุ่นดูดน้ำเพื่อดูดน้ำกลับ
4. เครื่องใช้ต่างๆ
เครื่องครัวต่างๆ แช่ทําความสะอาดในน้ำคลอรีนผสม หรือ แอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วนําไปแช่ในน้ำเดือดต้ม ทําความสะอาดอีกครั้ง
เครื่องเงินและโลหะ ต้มหรือแช่ในน้ำเดือดเพื่อทําความสะอาด



ขั้นตอนการลงมือทําความสะอาด

หลังจากตรวจเช็คทุกอย่างจนแน่ใจแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการทําความสะอาดขนานใหญ่ โดยเริ่มตามโปรแกรมดังนี้

1. เริ่มด้วยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อความสะดวกในการจัดการกับ โคลนตม ที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดินโคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด
2. ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วย ผ่อนแรงได้มากคือไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทําเป็นผ้าลากน้ำได้ โดยเน้นการกําจัด คืนโคลนออกไปให้หมด
3. เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของคุณมีการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม ปาร์เกต์ ฯลฯ มีความ จําเป็นที่จะต้องซื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร
4. การทําความสะอาดพื้นทุกชนิด ต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสมของพื้น โดยทั่วๆไปสามารถใช้น้ำผสมคลอรีน ในอัตราส่วน อ.%(ICC ต่อน้ำ 2000 C) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อนแล้วจึงขัดถูพื้นด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ขัดให้ ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือด ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทําความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ ซึ่งต้องอ่าน ฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
5. หากเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกําจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกําจัดเชื้อ กําจัดกลิ่นกําจัดคราบไขมันได้
- ข้อดี คือ
สารชีวภาพเอนไซม์นั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่จากความขึ้นต่อไปได้อีกนาน ประมาณ 5 เดือนตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สําคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
6. สําหรับพื้นบ้านที่ปูพรมถ้าพื้นบ้านที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมหรือน้ำเสีย ควรจะตัด ใจกําจัดทิ้งไปเพื่อความปลอดภัยของ สุขภาพ เพราะพรมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอย่างดี
- การทําความสะอาดพรมด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก ต้องใช้มืออาชีพที่เชื่อถือได้ว่าจะใช้น้ำยาซักพรมที่ฆ่าเชื้อกําจัดกลิ่น และใช้เครื่องมือซักพรมชนิดพิเศษที่สามารถทําความสะอาดได้ล้ําลึก แต่ค่าใช้จ่ายในการทําความสะอาดค่อนข้างสูงควร พิจารณาให้ดี



ข้อควรระวัง!!

: สวมถุงมือ รองเท้ายาง ผ้าปิดจมูก ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่ว และการสูดดม สัมผัสกับเชื้อโรค ต่างๆ
: ควรทําความสะอาด ฟื้นฟู ทันทีที่ทําได้ อย่าทิ้งไว้นาน เพราะเชื้อโรคจะสะสมมาก คราบสกปรกจะฝังแน่นทําความ สะอาดยาก
: ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศทันที เพราะเชื้อโรคจะสะสมในระบบได้ ควรใช้งานหลังจากทําความสะอาดเสร็จแล้ว
: เปิดหน้าต่าง ประตูเพื่อลดความชื้นและอับ จะลดโอกาสการเกิดเชื้อราและไม่สะสมเชื้อโรค
: ห้ามทาสีใหม่ทันที เพราะความชื้นสะสมที่กําแพง จะทําให้สีทาใหม่ลอกกร่อนได้
: กําจัดความชื้น เชื้อรา ให้ได้มากที่สุด เพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ลดโอกาสเกิดโรคทางเดินหาย โรคปอด หอบหืด

ขอคุณข้อมูลจาก : https://decor.mthai.com




เนื้อหาที่คล้ายกัน