img


ตรวจเช็กรอยร้าวเบื้องต้น

การตรวจสอบรอยร้าวในอาคารเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำให้มั่นใจว่าอาคารยังคงอยู่ในสภาพที่สามารถเข้าอยู่ได้อย่างปลอดภัย รอยร้าวนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การหดตัวของวัสดุ, การยุบตัวของดินใต้ฐานราก หรือการออกแบบที่ไม่เหมาะสม


หากรอยร้าวเหล่านี้ไม่ถูกตรวจสอบและแก้ไขให้ทันท่วงที อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร เช่น การแตกหักหรือการเสียหายอย่างรุนแรง รวมถึงอาจสร้างความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยได้ ในบทความนี้โกลบอลเฮ้าส์จะพามาหาคำตอบว่ารอยร้าวแบบไหนที่ควรสังเกต และวิธีการรับมือเมื่อพบรอยร้าวที่อาจเป็นอันตรายได้อย่างถูกวิธี


สาเหตุของรอยแตกร้าวที่กระทบโครงสร้าง

  • การหดตัวและขยายตัวของวัสดุ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและระดับความชื้นทำให้วัสดุเกิดการหดตัวหรือขยายตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยแตกในโครงสร้างได้

  • การตั้งตัวไม่เสถียร ถ้ารากฐานหรือฐานที่รองรับไม่มั่นคง เนื่องจากฐานรากเกิดการทรุดตัวหรือมีการเคลื่อนที่ของดิน ก็อาจทำให้ตัวโครงสร้างเกิดการเคลื่อนตัว ส่งผลให้เกิดรอยร้าวในตัวอาคารได้

  • การออกแบบที่ไม่เหมาะสม อาคารที่ไม่ได้รับการออกแบบมาอย่างถูกต้อง อาจทำให้ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม

  • กิจกรรมการก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม การขาดการตรวจสอบที่เหมาะสมในระหว่างการก่อสร้างหรือต่อเติมอาจนำไปสู่อาคารที่มีมาตรฐานต่ำ ซึ่งอาจเกิดการแตกร้าวได้ภายหลัง


รอยร้าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง


รอยร้าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง คือรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของวัสดุต่างๆ เช่น ผนัง ปูนฉาบ หรือกระเบื้อง แต่ไม่ได้ส่งผลต่อความแข็งแรงหรือเสถียรภาพของอาคาร รอยร้าวประเภทนี้มักเกิดจากปัจจัยภายนอก โดยรอยร้าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่


1. รอยร้าวแบบเส้นขนแมว (Hairline Cracks)

ลักษณะ: เป็นรอยร้าวขนาดเล็กมาก กว้างไม่เกิน 0.1 – 0.2 มม. มักเกิดขึ้นบนผิวของปูนฉาบหรือสีทาผนัง

สาเหตุ: 

  • การหดตัวของปูนฉาบ เมื่อปูนแห้งตัวไม่สม่ำเสมอ 
  • คุณภาพของสีหรือน้ำยารองพื้น หากไม่เหมาะสม อาจทำให้สีแตกเป็นเส้นขนแมว
  • การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น ทำให้วัสดุขยายตัวและหดตัว

วิธีแก้ไข: หากเป็นรอยร้าวขนาดเล็กมาก สามารถขัดและทาสีทับใหม่ได้ หากรอยร้าวกว้างขึ้น ควรใช้วัสดุอุดรอยร้าวชนิดบาง เช่น อะคริลิกซีลแลนท์ ก่อนทาสีทับ


2. รอยร้าวเฉพาะผิว (Surface Cracks)

ลักษณะ: มีความกว้างประมาณ 0.3 – 1 มม. พบรอยร้าวเฉพาะบนพื้นผิวปูนฉาบ กระเบื้อง ฝ้าเพดาน หรือสีที่ทาผนัง อาจเป็นรอยร้าวแตกลายงา ที่แตกเป็นร่างแหคล้ายใยแมงมุม

สาเหตุ: 

  • การหดตัวของปูนฉาบ เมื่อปูนแห้งตัวไม่สม่ำเสมอ
  • การฉาบปูนที่ไม่ถูกต้อง เช่น ฉาบบางเกินไป หรือใช้น้ำมากเกินไป
  • สีที่ใช้ไม่มีความยืดหยุ่น หรือทาทับบนพื้นผิวที่ยังไม่แห้งสนิท
  • อาจเกิดจากแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยของอาคาร

วิธีแก้ไข: ใช้วัสดุอุดรอยร้าวแบบยืดหยุ่น ก่อนขัดแต่งพื้นผิวและทาสีทับ เลือกใช้ สียืดหยุ่นสูง หรือสีปกปิดรอยแตกร้าว


3. รอยร้าวจากการเชื่อมต่อวัสดุ (Joint Cracks)

ลักษณะ: เกิดบริเวณรอยต่อของวัสดุต่างชนิดกัน เช่น ระหว่างคานกับผนัง, ระหว่างเสาและผนัง, บริเวณรอยต่อของแผ่นฝ้าเพดาน

สาเหตุ: 

  • วัสดุแต่ละชนิดมีอัตราการยืดหดตัวต่างกัน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 
  • การเคลื่อนตัวของอาคาร ทำให้รอยต่อเกิดการแยกตัว
  • การติดตั้งวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน

วิธีแก้ไข: ใช้โพลียูรีเทนซีลแลนท์หรือซิลิโคนที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อปิดรอยร้าว สำหรับรอยต่อของฝ้าเพดาน อาจใช้เทปตาข่ายฉาบปิดก่อนทาสี


รอยร้าวที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง


เป็นรอยร้าวที่มีความรุนแรงและอาจกระทบต่อความมั่นคงของอาคาร หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาคารเกิดความเสียหายร้ายแรงหรือเสี่ยงต่อการพังทลายได้ สามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทหลัก ดังนี้

 

1. รอยร้าวแนวตั้ง (Vertical Cracks)

  • รอยร้าวที่พาดผ่านเป็นแนวตั้งหรือแนวดิ่งกลางผนัง พบได้ตาม ผนัง เสา หรือคาน รอยร้าวลักษณะนี้แสดงถึงปัญหาของโครงสร้างภายในอาคาร หากเป็นรอยร้าวขนาดเล็กควรเฝ้าระวัง แต่หากมีขนาดกว้างเกิน 5 มม. อาจเป็นอันตรายได้ ต้องแจ้งให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบและประเมินความเสียหายเพิ่มเติม เพราะรอยร้าวนี้อาจหมายถึงการเคลื่อนตัวของโครงสร้างหรือปัญหาฐานรากที่ส่งผลต่อความมั่นคงของอาคาร ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน


2. รอยร้าวแนวนอน (Horizontal Cracks)

  • อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และพาดผ่านแนวนอน มักพบบริเวณผนัง เสา หรือคานรับน้ำหนัก ถือเป็นรอยแตกที่เป็นอันตราย ต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยทันที ไม่ว่ารอยแตกร้าวจะมีความยาวหรือความกว้างเท่าไหร่ก็ตาม เพราะรอยร้าวนี้อาจหมายถึงการเคลื่อนตัวของโครงสร้างหรือปัญหาฐานรากที่ส่งผลต่อความมั่นคงของอาคารได้


3. รอยร้าวเฉียง (Diagonal Cracks)

  • รอยแตกร้าวแนวทแยง มักพบที่ มุมประตู หน้าต่าง ผนัง หรือเสา บางครั้งอาจต่อเนื่องจากผนังขึ้นไปยังคาน จะเกิดขึ้นในลักษณะพาดผ่านในมุม 30 ถึง 70 องศา ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ถือเป็นรอยร้าวที่เป็นอันตราย ต้องได้รับการตรวจสอบจากวิศวกรโดยด่วน อาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับฐานรากของตัวอาคาร และส่งผลกระทบต่อโครงสร้างได้

4. รอยร้าวบริเวณเสาและคาน (Cracks in Beams and Columns)

  • รอยร้าวบริเวณเสาหรือคานเป็นสัญญาณของปัญหาโครงสร้างที่ร้ายแรง เนื่องจากเสาและคานเป็นส่วนประกอบหลักที่รับน้ำหนักของอาคาร

  • รอยร้าวเหล่านี้อาจทำให้โครงสร้างอาคารทรุดตัว หรือพังทลาย และควรได้รับการตรวจสอบโดยวิศวกรโครงสร้างทันที


5. รอยร้าวบริเวณฐานราก (Cracks in Foundations)

  • รอยร้าวบริเวณฐานรากบ่งชี้ถึงปัญหาการทรุดตัวของฐานราก ซึ่งอาจเกิดจากดินใต้ฐานรากทรุดตัว หรือการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน รอยร้าวเหล่านี้อาจทำให้โครงสร้างอาคารเอียง หรือทรุดตัว และควรได้รับการตรวจสอบโดยวิศวกรโครงสร้าง


6. รอยร้าวที่มีการเปลี่ยนแปลง (Changing Cracks)

  • รอยร้าวที่มีการขยายตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ควรได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาจบ่งชี้ถึงปัญหาโครงสร้างที่กำลังดำเนินอยู่


ขั้นตอนการรายงานปัญหา

หากพบรอยร้าวที่น่าสงสัยหลังจากตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองแล้ว ควรรายงานปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญทราบเพื่อให้เข้ามาตรวจสอบและประเมินความเสียหายต่อไป โดยคุณสามารถแจ้งปัญหารอยร้าวผ่าน Line @Traffyfondue ได้ในไม่กี่ขั้นตอน


ขั้นตอนการรายงานปัญหาผ่าน Traffyfondue

  • เพิ่มเพื่อน Line @Traffyfondue หรือแสกนผ่าน QR code

  • เลือกเมนู “แจ้งรอยร้าวอาคาร” ตรงเมนูด้านล่าง

  • แจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน

  • ถ่ายรูปรอยร้าว 2 ภาพ

  1. รูปมุมกว้าง ให้เห็นตำแหน่งของรอยร้าวที่เกิดขึ้น

  2. รูปมุมแคบ ถ่ายให้เห็นเฉพาะจุดที่เกิดรอยร้าว

  • ระบุลักษณะตึกอาคาร เช่น ลักาณะเป็นตึกแถว บ้านเดี่ยว หรืออาคารสูง

  • ระบุความสูงอาคาร โดยระบุจำนวนชั้นของอาคาร

  • ระบุขนาดของรายร้าว ใช้หน่อยเป็นมิลลิเมตร (มม.)

  • ระบุชั้นที่พบรอยร้าว

  • รอเจ้าหน้าที่ตอบกลับเพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป

การตรวจสอบรอยร้าวในอาคารเป็นสิ่งที่สำคัญและควรดำเนินการโดยด่วน เพื่อความปลอดภัยและความเสถียรภาพของโครงสร้างอาคาร รอยร้าวอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ตั้งแต่รอยแตกร้าวเล็กๆ ที่ไม่อันตรายไปจนถึงรอยแตกร้าวที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนตัวของโครงสร้าง เมื่อพบรอยร้าวควรตรวจสอบและแจ้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเสียหายผ่าน LINE @Traffyfondue

สรุปบทความ

การไม่ละเลยรอยร้าวจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และรักษาความปลอดภัยให้กับคุณและครอบครัว ดังนั้นควรตรวจสอบสภาพอาคารอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่ายังคงปลอดภัย คุณยังสามารถอ่านบทความ ไขสาเหตุรอยร้าวเสาบ้าน แก้ปัญหาเบื้องต้นอย่างไรให้ปลอดภัย เพื่อศึกษาวิธีแก้ไขปัญหารอยร้าวที่ไม่เป็นอันตรายได้ด้วยตนเอง หากคุณกำลังต้องการอุปกรณ์ซ่อมแซมและต่อเติมอาคาร สามารถเลือกดูได้ที่โกลบอลเฮ้าส์ศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ที่มีสินค้าให้คุณเลือกได้อย่างครบครัน


คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 1,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 100 บาท

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 9,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 1,000 บาท

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม แลกซื้อเครื่องดื่ม ที่ลามายอนคอฟฟี่ทุกสาขา

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ ใช้คะแนนนจ่ายแทนเงินสดที่ร้านค้าถุงเงิน ผ่าน แอป Global House Click&Collect อ่านเพิ่ม >> พอยท์เพย์ คลิก <<


Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว


เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่


ช่องทางติดต่อ บริการช่างดี




เนื้อหาที่คล้ายกัน