img


วิธีกำจัดเชื้อราพื้นและผนังหลังน้ำท่วม

เหตุการณ์น้ำท่วมสร้างความเสียหายมากมาย นอกจากความสูญเสียทางจิตใจและทรัพย์สินแล้ว ยังทิ้งคราบเชื้อราที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยได้ บทความโกลบอลไอเดียนี้ ขอรวบรวมวิธีการกำจัดเชื้อราทั้งบนพื้นและผนัง เสมือนคู่มือฟื้นฟูบ้านอย่างมืออาชีพ

ทำไมต้องกำจัดเชื้อรา?

หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม มักจะตามมาด้วยปัญหาเชื้อราที่ขึ้นตามพื้นและผนัง ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพ แต่ยังทำให้บ้านดูสกปรกและเสียหายอีกด้วย การกำจัดเชื้อราจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้บ้านกลับมาสะอาดและปลอดภัย 

1. ปัญหาสุขภาพ เชื้อราสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ การสัมผัสเชื้อราอาจทำให้เกิดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ และปัญหาทางเดินหายใจ การสูดดมเชื้อราอาจทำให้เกิดอาการแพ้ หายใจลำบาก ไอ จาม  ซึ่งเชื้อราสามารถลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรค

2. ความเสียหายต่อโครงสร้างบ้าน เชื้อราสามารถทำลายโครงสร้างของบ้าน เช่น ผนัง ไม้ และวัสดุอื่นๆ

3. กลิ่นไม่พึงประสงค์ เชื้อราทำให้เกิดกลิ่นอับชื้นในบ้าน

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 

อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องเตรียม เพื่อให้คุณสามารถกำจัดเชื้อราได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวจะช่วยปกป้องสุขภาพของคุณ

1. อุปกรณ์ป้องกันตัว

  • หน้ากาก N95หน้ากากอนามัย ช่วยป้องกันไม่ให้คุณสูดดมสปอร์ของเชื้อราเข้าไปในปอด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาทางเดินหายใจ
  • ถุงมือยางถุงมือช่วยป้องกันการสัมผัสกับสารเคมีในน้ำยาฆ่าเชื้อรา และป้องกันไม่ให้เชื้อราติดมือ
  • แว่นตากันสารเคมีแว่นตาเซฟตี้ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำยาฆ่าเชื้อรากระเด็นเข้าตา
  • รองเท้าบูทรองเท้าบูทกันน้ำ ช่วยป้องกันเท้าจากน้ำยาฆ่าเชื้อรา และป้องกันไม่ให้เชื้อราติดที่เท้า


2. อุปกรณ์ทำความสะอาด

  • น้ำยาฆ่าเชื้อรา ฆ่าเชื้อราบนพื้นผิวต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สบู่ ช่วยขจัดคราบสกปรกและเชื้อราเบื้องต้น
  • น้ำยาซักฟอก ช่วยขจัดคราบสกปรกและไขมันที่อาจเกาะอยู่กับเชื้อรา
  • แปรงขัด ใช้ขัดทำความสะอาดคราบเชื้อราที่ฝังแน่น
  • ผ้าขี้ริ้ว ผ้าขนหนู หรือผ้าไมโครไฟเบอร์ ใช้เช็ดทำความสะอาดพื้นและผนัง
  • ถังน้ำ ใช้ใส่น้ำสำหรับผสมน้ำยาทำความสะอาด และใช้ล้างอุปกรณ์


3. อุปกรณ์อื่นๆ

  • ไม้กวาด กวาดเศษขยะและเศษเชื้อราออกก่อนทำความสะอาด
  • ไม้ถูพื้น ใช้ถูพื้นหลังจากทำความสะอาดพื้นและผนังเสร็จ


4. สูตรน้ำยาฆ่าเชื้อราที่ทำเองได้

  • น้ำส้มสายชู ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 ฉีดพ่นบริเวณที่มีเชื้อรา
  • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้น 3% ฉีดพ่นบริเวณที่มีเชื้อรา
  • โซเดียมไบคาร์บอเนต ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตกับน้ำ ทำเป็นแป้งขัดบริเวณที่มีเชื้อรา

วิธีการกำจัดเชื้อราบนพื้นและผนัง

1. การเตรียมตัว

  • สวมใส่ชุดป้องกัน ถุงมือ แว่นตา หน้ากาก N95
  • เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ลดความชื้นในบริเวณที่มีเชื้อรา
  • เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของออกจากบริเวณที่จะทำความสะอาด
  • ย้ายพรมและถอดม่าน
  • ใช้สบู่ หรือผงซักฟอกเช็ดล้างพื้นและผนัง ก่อนเริ่มกระบวนการกำจัดเชื้อรา เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและเศษวัสดุต่างๆ โดยใช้แปรงขัดบริเวณที่เป็นคราบหรือมีความสกปรกมาก

2. การกำจัดเชื้อราบนพื้น

2.1 กำจัดเชื้อราบนพื้นไม้

  • ใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อรา บิดหมาดๆ จากนั้นนำผ้ามาเช็ดบริเวณที่มีเชื้อรา หรือสามารถใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 1:10 
  • หากเชื้อราไม่ออกง่าย ใช้แปรงขนนุ่ม ขัดเบาๆ อย่าขัดแรงเกินไปเพราะอาจทำให้พื้นไม้เสียหาย
  • หลังจากขัดทำความสะอาดเชื้อราแล้ว ให้ล้างพื้นผิวด้วยน้ำสะอาด หรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ จากนั้นเช็ดให้แห้งทันที
  • ทาสีรองพื้นกันเชื้อรา และทาสีบำรุงพื้นไม้
  • เปิดหน้าต่างหรือใช้ พัดลมเป่าพื้น ให้พื้นแห้งเร็วที่สุด เนื่องจากความชื้นเป็นตัวการที่ทำให้เชื้อราเติบโตได้ง่าย 
  • การป้องกันเชื้อรากลับมา หากพบว่ามีรอยรั่วหรือน้ำซึมในพื้นที่ ควรซ่อมแซมทันที


2.2 กำจัดเชื้อราบนพื้นลามิเนต

  • ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับพื้นลามิเนต เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าหมาดๆ อย่าให้พื้นลามิเนตโดนน้ำมากเกินไป
  • ถ้าเชื้อราขึ้นที่บริเวณขอบหรือร่องต่อระหว่างแผ่นลามิเนต อาจต้องใช้เครื่องทำความสะอาดไอน้ำที่มีการควบคุมความชื้น
  • ระวังไม่ให้พื้นลามิเนตเปียกนานๆ เพราะความชื้นจะทำให้พื้นบวมและเสียรูป


2.3 กำจัดเชื้อราบนพื้นกระเบื้อง                                                                            

  • ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อรา 1 ส่วน กับน้ำ 4 ส่วน ฉีดพ่นบริเวณที่มีเชื้อรา ทิ้งไว้ 10 นาที 
  • ขัดบริเวณที่มีเชื้อรา โดยเฉพาะร่องยาแนวที่มีการสะสมของเชื้อรา หากมีเชื้อราฝังแน่นมาก อาจต้องขัดซ้ำหลายครั้งจนกระทั่งเชื้อราหลุดออกหมด
  • ล้างพื้นด้วยน้ำสะอาด เพื่อล้างคราบน้ำยาฆ่าเชื้อออก
  • เช็ดให้แห้ง ใช้ผ้าแห้งหรือไม้ถูพื้นเช็ดให้สะอาด เพื่อป้องกันความชื้นสะสม
  • ใช้น้ำยาป้องกันเชื้อรา ทาทับบริเวณร่องยาแนว เพื่อป้องกันการกลับมาของเชื้อราในอนาคต
  • พิจารณาซ่อมแซมหรือยาแนวใหม่ ในกรณีที่ร่องยาแนวเริ่มเสื่อมสภาพ เพราะร่องยาแนวที่แตกหรือหลุดลอกมักเป็นจุดสะสมความชื้นและเชื้อรา


2.4 กำจัดเชื้อราบนพื้นปูน

  • ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำในอัตราส่วน 1:10 (น้ำส้มสายชู 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน) สำหรับการทำความสะอาดที่ปลอดสารเคมี
  • ฉีดพ่นน้ำยาลงบนพื้นปูนที่มีเชื้อรา หรือใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อราเช็ดบริเวณที่มีเชื้อรา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้น้ำยาออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา
  • ใช้แปรงขนแข็งหรือแปรงลวด เพื่อขัดเอาสปอร์เชื้อราและฝุ่นที่สะสมบนพื้นปูนออก หากพื้นปูนมีเชื้อราเกาะแน่นมาก ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อซ้ำและขัดซ้ำหลายครั้ง
  • ล้างพื้นด้วยน้ำสะอาด เพื่อขจัดคราบน้ำยาและสิ่งสกปรกที่เกิดจากการขัด
  • ใช้ผ้าแห้งหรือพัดลมช่วยให้พื้นแห้งเร็วที่สุด เพราะความชื้นที่ตกค้างอาจทำให้เชื้อรากลับมาเติบโตอีก
  • ทาสารเคลือบปูนหรือใช้น้ำยากันซึมหลังจากทำความสะอาด เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้ซึมลงในพื้นปูน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดเชื้อราในอนาคต


2.5 กำจัดเชื้อราบนพื้นพรม

  • ดูดฝุ่นออกให้หมดแล้วฉีดพ่นสารทำความสะอาดที่พรม
  • ใช้เครื่องดูดฝุ่นแบบน้ำหรือเครื่องทำความสะอาดพรม เพื่อขจัดสารเคมีและความชื้น
  • หากเชื้อราเยอะมากหรือฝังลึก อาจต้องเปลี่ยนพรมใหม่
  • ควรให้พรมแห้งสนิทหลังทำความสะอาด เพื่อป้องกันการเติบโตของเชื้อราซ้ำ


2.6 กำจัดเชื้อราบนพื้นหินธรรมชาติ

  • ใช้สารทำความสะอาดสูตรอ่อนโยน หรือสารฆ่าเชื้อราที่ปลอดภัยสำหรับพื้นหินธรรมชาติ เช่น น้ำส้มสายชูหรือน้ำยาสูตรไม่เป็นกรด
  • ขัดเชื้อราออกด้วยฟองน้ำหรือแปรงที่อ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นหินเกิดรอยขีดข่วน
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นกรดสูง เพราะอาจทำให้พื้นหินธรรมชาติเสื่อมสภาพ

3. การกำจัดเชื้อราบนผนัง

3.1 กำจัดเชื้อราบนผนังปูน

  • ใช้เกรียงขูดเชื้อราออกเบาๆ เพื่อไม่ให้ผนังเสียหาย
  • ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อรา 1 ส่วน กับน้ำ 4 ส่วน ทาบริเวณที่มีเชื้อรา ทิ้งไว้ 10 นาที 
  • ล้างน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง
  • ทาสีรองพื้นกันเชื้อรา แล้วทาสีทับ เพื่อป้องกันเชื้อราเกิดขึ้นใหม่


3.2 กำจัดเชื้อราบนผนังปูกระเบื้อง

  • ใช้แปรงขัดหรือฟองน้ำขัดเชื้อราออก
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดกระเบื้องที่มีส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อรา ฉีดพ่นหรือทาลงบนบริเวณที่มีเชื้อรา ขัดเบาๆ เพื่อให้สารเคมีแทรกซึมเข้าไปกำจัดเชื้อรา
  • สำหรับรอยต่อกระเบื้อง อาจใช้แปรงสีฟันขัดเพื่อเข้าถึงร่องได้ดีขึ้น
  • ล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง

 

3.3 กำจัดเชื้อราบนผนังยิปซัม:

  • กรณีเชื้อรามีขนาดเล็ก ให้ทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งด้วยผ้าแห้งทันทีหลังทำความสะอาด
  • กรณีเชื้อรามีขนาดใหญ่ หากเชื้อราลามลึกถึงด้านในของแผ่นยิปซัม อาจต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ทั้งหมด


3.4 กำจัดเชื้อราบนผนังไม้

  • ใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำหรือใช้สารฆ่าเชื้อราที่อ่อนโยน เช่น น้ำมันทีทรี (Tea Tree Oil) ฉีดพ่นหรือเช็ดบนพื้นผิวไม้ หากเชื้อราฝังลึก ใช้กระดาษทรายขัดเบาๆ เพื่อนำชั้นที่เสียหายออก
  • หลังจากทำความสะอาดแล้ว ควรเคลือบผนังไม้ด้วยสารกันน้ำและสารป้องกันเชื้อรา เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ


3.5 กำจัดเชื้อราบนผนังบุวอลเปเปอร์

  • วอลเปเปอร์เป็นวัสดุที่ไวต่อความชื้นและเชื้อรา หากเชื้อราขึ้นบนพื้นผิว อาจเช็ดเบาๆ ด้วยน้ำส้มสายชูเจือจางหรือน้ำยาทำความสะอาดสูตรอ่อนโยน แต่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้วอลเปเปอร์หลุดลอก
  • หากเชื้อราฝังอยู่ภายในหรือด้านหลังวอลเปเปอร์ ควรลอกวอลเปเปอร์ออกแล้วทำความสะอาดผนังด้านในก่อนติดวอลเปเปอร์ใหม่
  • กรณีใช้วอลเปเปอร์ใหม่ ควรเลือกวอลเปเปอร์ที่มีคุณสมบัติกันเชื้อราและทนต่อความชื้น


3.6 กำจัดเชื้อราบนผนังหินธรรมชาติ

  • ใช้สารทำความสะอาดที่ปลอดภัยสำหรับหินธรรมชาติ เช่น น้ำยาสูตรที่ไม่มีกรดหรือใช้น้ำส้มสายชูเจือจาง
  • ขัดเบาๆ ด้วยแปรงที่ไม่แข็งเกินไปเพื่อป้องกันการเกิดรอยบนผิวหิน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง เช่น น้ำยาฟอกขาวที่มีคลอรีน เพราะอาจทำให้ผนังหินเสียหายได้

กำจัดกลิ่นอับชื้นหลังน้ำท่วม

เมื่อบ้านเกิดน้ำท่วม ปัญหาเชื้อราและกลิ่นอับชื้นจะตามมา สาเหตุหลักคือความชื้น วิธีง่ายๆ ในการกำจัดกลิ่นอับชื้น

  • ระบายอากาศ ด้วยการเปิดหน้าต่างและประตูให้อากาศถ่ายเท ติดตั้งพัดลมหรือระบบระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความชื้นและปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูดซับความชื้น เช่น ถ่านอัดก้อน วางไว้ในจุดต่างๆ เพื่อดูดซับความชื้น
  • ติดตั้งเครื่องลดความชื้นในห้องที่มีความชื้นสูง เพื่อลดการสะสมของความชื้น


สรุปบทความ

การกำจัดเชื้อราหลังน้ำท่วมอย่างถูกวิธี มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูบ้านอย่างปลอดภัย ซึ่งการกำจัดเชื้อราบนพื้นและผนัง ควรเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราที่เหมาะสมสำหรับพื้นผิวที่คุณต้องการทำความสะอาด ซึ่งสารเคมีกำจัดเชื้อรามีหลายรูปแบบ เช่น สเปรย์ เจล หรือน้ำยาขัด ก่อนใช้งานน้ำยาฆ่าเชื้อรา ควรอ่านฉลากคำแนะนำอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าใช้น้ำยาอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ระหว่างทำความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศและลดกลิ่นของน้ำยาฆ่าเชื้อรา หากเชื้อรากลับมาเกิดอีก ควรทำความสะอาดซ้ำอีกครั้ง หรือทำความสะอาดบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราเป็นประจำ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่โกลบอลเฮ้าส์ ที่สามารถช่วยแนะนำคุณในการเลือกผลิตภัณฑ์กำจัดเชื้อรา และอุปกรณ์ทำความสะอาด รวมถึงบริการกำจัดเชื้อราโดยตรงอีกด้วย


คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 1,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 100 บาท

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 9,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 1,000 บาท

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม แลกซื้อเครื่องดื่ม ที่ลามายอนคอฟฟี่ทุกสาขา

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ ใช้คะแนนนจ่ายแทนเงินสดที่ร้านค้าถุงเงิน ผ่าน แอป Global House Click&Collect อ่านเพิ่ม >> พอยท์เพย์ คลิก <<


Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว


เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่


ช่องทางติดต่อ บริการช่างดี




เนื้อหาที่คล้ายกัน