img


รวมเรื่องเกี่ยวกับ "เบรกเกอร์ไฟบ้าน" ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นระบบที่มีความสำคัญมากๆ จะต้องมีการติดตั้งจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของการใช้งาน และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย หากติดตั้งระบบไฟในบ้านไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว หรือไฟช็อตผู้ใช้งานได้ นอกจากเลือกติดตั้งด้วยช่างที่เชี่ยวชาญแล้ว ยังต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะเบรกเกอร์ไฟบ้าน อุปกรณ์ที่ช่วยในการตัดไฟ สามารถช่วยป้องกันอันตรายได้ สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้เบรกเกอร์กับคัทเอาท์ ไปดูกันว่าต้องเลือกใช้งานอะไร เพื่อให้มีความปลอดภัย

เบรกเกอร์คืออะไร

เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการตัดไฟอัตโนมัติ เหมือนเป็นตัวช่วยในการป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายต่อการใช้ไฟภายในบ้าน เมื่อเบรกเกอร์พบความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของระบบไฟ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไฟเกิน ไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์จะทำการตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสายไฟ มอเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านอีกด้วย 


การแบ่งประเภทของเบรกเกอร์นั้นจะแบ่งตามแรงดันของไฟฟ้า ซึ่งสามารถแบ่งออกไปทั้งหมด 3 ประเภท คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers) เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง (Medium Voltage Circuit Breakers) และเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage Circuit Breakers) ซึ่งเบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกัน เพื่อรองรับการใช้งานในรูปแบบที่ต่างกันออกไป

1.เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ

เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำเป็นเบรกเกอร์ที่สามารถใช้ได้ในงานทั่วไปทั้งระดับอุตสาหกรรม การใช้เชิงพาณิชย์ และเป็นเบรกเกอร์ไฟบ้าน สำหรับเบรกเกอร์แรงดันไฟต่ำนั้นสามารถใช้งานได้ง่าย หากเกิดปัญหาสามารถถอดเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องถอดสวิตช์ออกก่อน ซึ่งเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 4 ตัว ดังนี้

MCB (Miniature Circuit Breakers)

เบรกเกอร์ลูกย่อย (Miniature Circuit Breakers : MCB) เป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้เป็นเบรกเกอร์ไฟบ้าน และใช้ในอาคารที่มีกระแสไฟไม่เกิน 100 แอมป์ ใช้ได้ทั้งกับระบบไฟฟ้าเฟส 1 ซึ่งเป็นระบบที่บ้านเรือนทั่วไปใช้ และระบบไฟฟ้าเฟส 3 ซึ่งมีให้เลือกใช้ได้ทั้งขนาด 1 เสา ไปจนถึงขนาด 4 เสา สำหรับอาคารบ้านเรือนที่ใช้เบรกเกอร์รูปแบบนี้ส่วนใหญ่นิยมติดตั้งภายในอาคาร โดยติดตั้งร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load center) หรือแผงจ่ายไฟฟ้าในห้องพักอาศัย (Consumer unit) 

RCDs (Residual Current Devices)

เบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว (Residual Current Devices : RCDs) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เมื่อมีการตรวจพบว่าเกิดปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ไฟรั่ว ไฟช็อต ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท แต่ละประเภทก็จะมีการทำงานที่ต่างกัน

  • Residual Current Circuit Breakers (RCCBs) เป็นเบรกเกอร์ที่เมื่อเกิดปัญหาไฟรั่ว จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้า แต่ไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • Residual Current Circuit Breakers with Overload protection (RCBOs) เบรกเกอร์ที่สามารถตัดได้ทั้งปัญหาไฟรั่วและไฟฟ้าลัดวงจร
  • Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว โดยเบรกเกอร์ ELCB จะมีปุ่ม Test ซึ่งเป็นปุ่มที่คอยตรวจสอบว่าเบรกเกอร์ทำงานได้ปกติหรือไม่ หากพบว่าเกิดปัญหาไฟรั่ว และไฟฟ้าลัดวงจรเบรกเกอร์ก็จะปลดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ แต่หากมีการใช้ไฟเกินเบรกเกอร์ชนิดนี้จะไม่ทำการปลดวงจรไฟได้หมือนเบรกเกอร์ตัวอื่นๆ 

MCCB (Moulded Case Circuit Breakers)

MCCB เป็นเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารใหญ่ๆ ที่มีการใช้ไฟเยอะ เพราะเบรกเกอร์ประเภทนี้สามารถใช้เป็นสวิตช์ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าได้ในตัว ซึ่งสามารถใช้กระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 100 แอมป์ ไปจนถึง 2300 แอมป์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ทนค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (kA) ได้สูง นิยมติดตั้งไว้ในตู้โหลดเซนเตอร์ (Load Center) ซึ่งเป็นตู้ที่ใช้ในการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ACB (Air Circuit Breakers)

ACB เป็นเบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้สูงถึง 6,300 แอมป์ ด้วยคุณสมบัติที่ทั้งทนทานได้สูง และมีความแข็งแรงจึงนิยมใช้เป็นเบรกเกอร์ตัวหลัก ที่ใช้ป้องกันสายเมน โดยจะติดตั้งไว้ในตู้ MDB (Main Distribution Board) หรือ ตู้สวิตช์บอร์ด (Switchboards) ซึ่งเป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก

2.เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง (Medium Voltage Circuit Breakers) เป็นเบรกเกอร์ที่กระแสไฟนั้นจะอยู่ะหว่าง 400V ถึง 15kV ทำงานโดยการตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้กับอาคาร หรือติดตั้งในสถานีย่อย โดยมักจะใช้เซนเซอร์กระแสสลับ และรีเลย์ป้องกันแทน มีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

  • Air circuit Breakers (ACB) 
  • Vacuum Circuit Breakers
  • SF6 circuit breakers

3.เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage Circuit Breakers) ใช้กับการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV ขึ้นไป สำหรับเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูงทำงานด้วยขดแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟที่ทำงานผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งช่วยป้องกันไฟเกินและไฟรั่ว

หลักการทำงานของเบรกเกอร์

เบรกเกอร์คืออุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ในการตัดกระแสไฟ ซึ่งมีหลักการทำงานคือเบรกเกอร์จะตรวจจับการทำงานของกระแสไฟฟ้า หากพบว่ามีปัญหาไฟฟ้าเกิน เกิดกระแสไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์จะทำหน้าที่ในการปกป้องไม่ให้เกิดอันตราย โดยจะตัดไฟแบบอัตโนมัติ เมื่อเกิดการตัดไฟคันโยกที่เบรกเกอร์จะถูกสับลงมาอยู่ในตำแหน่ง Trip ซึ่งเป็นจุดที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างตำแหน่ง On และ Off

เลือกซื้อเบรกเกอร์ไฟบ้านอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน


การเลือกซื้อเบรกเกอร์ไฟบ้านจะต้องเลือกให้มีความเหมาะสมกับระบบไฟปลายทาง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วระบบไฟฟ้าในประเทศไทยจะเป็นไฟที่มีแรงดันต่ำไม่เกิน 400 โวลต์ และส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระบบไฟฟ้าแบบเฟส 1 และระบบเฟส 3 ในโรงงาน ซึ่งการเลือกซื้อเบรกเกอร์ไฟบ้านสามารถพิจารณาได้จาก 3 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้

  1. ฟังก์ชันการใช้งาน ก่อนจะซื้อเบรกเกอร์ไฟบ้านจะต้องมีการพิจารณาฟังก์ชันในการใช้งานก่อนเสมอ เพื่อที่จะได้เลือกเบรกเกอร์ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. จำนวน Pole เบรกเกอร์นั้นมีด้วยกันหลาย Pole สำหรับไฟบ้านที่จะใช้ระบบเฟส 1 นั้นเหมาะสำหรับเบรกเกอร์แบบ 1 Pole และ 2 Pole 

ค่าพิกัดกระแส (kA) เป็นค่าที่บ่งบอกความสามารถในการทนได้ของเบรกเกอร์ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งการพิจารณาค่าพิกัดกระแส ต้องอิงมาจากขนาดของหม้อแปลง และสายไฟที่ใช้เดินไฟภายในบ้าน เพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน


แนะนำเบรกเกอร์ไฟบ้าน

ปัจจุบันมีแบรนด์เบรกเกอร์ให้เลือกใช้งานมากมาย ซึ่งเบรกเกอร์เหล่านี้มีความเหมาะสมกับการใช้งานภายในครัวเรือน จะมีเบรกเกอร์ไฟบ้านแบบไหนบ้างไปดูกัน

HI-TEK เบรกเกอร์มีคอยส์ HI-88 20A รุ่น HCMM880020


  • เบรกเกอร์ชนิด 2P 2E สามารถตัดไฟได้ทั้งสองสาย
  • เป็นเบรกเกอร์ไฟบ้านรุ่นที่มีคอยล์เป็นส่วนประกอบ ช่วยให้ตรวจจับปัญหาไฟฟ้าเกินได้อย่างรวดเร็ว และเบรกเกอร์ก็จะตัดไฟได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
  • ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ไม่เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์อื่นๆ อย่างสายไฟ
  • มีระบบไบเมททอล ซึ่งช่วยป้องกันไฟเกินหรือโอเวอร์โหลด

CEO เบรคเกอร์ 2P 30A รุ่น NF30-CW


  • CEO เบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ไฟบ้านที่เหมาะสำหรับแรงดัน 220 vac. และ 380 vac.
  • เมื่อตรวจพบปัญหาไฟฟ้าเกิน สามารถตัดระบบไฟฟ้าได้ภายใน 0.01-0.03 วินาที
  • ผลิตจากวัสดุ เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ซึ่งเป็นพลาสติดที่สามารถทนความร้อนได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 180 องศา
  • ทำงานด้วยระบบขดลวดและแม่เหล็กเหนี่ยวนำ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ 

Philips เบรกเกอร์กันดูด LeafStyle RCBO 1P+N 20

  • ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ช่วยให้มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน
  • รองรับการทริปไฟฟ้าได้สูงสุด 10,000 ครั้ง พร้อมด้วยการรับประกัน 2 ปี
  • สามารถตัดไฟได้อย่างรวดเร็วภายใน 0.035 วินาที ช่วยให้มีความปลอดภัย
  • ติดตั้งด้วยระบบ Plug-on ช่องเข้าสายกว้าง ง่ายต่อการเข้าสายไฟ

เบรกเกอร์กับคัทเอาท์ต่างกันอย่างไร


เบรกเกอร์กับคัทเอาท์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟเหมือนกัน แต่เบรกเกอร์กับคัทเอาท์มีหลักในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • คัทเอาท์ หรือ สะพานไฟ เป็นตัวตัดวงจรไฟฟ้าทั่วไป ที่มีคันโยกในการเปิด-ปิดกระแสไฟ หากต้องการตัดไฟจะต้องทำการโยกปิดลงมา โดยคัทเอาท์จะมีฟิวส์เส้นอยู่ด้านในฝาครอบ ทำหน้าที่ป้องกันกระแสไฟเกิน 

  • เบรกเกอร์ เป็นตัวตัดวงจรแบบอัตโนมัติ เมื่อตรวจพบความผิดปกติของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เบรกเกอร์ก็จะทำการตัดไฟในทันที่ โดยที่คันโยกของคัทเอาท์จะลงมาอยู่ในตำแหน่ง Trip ซึ่งช่วยปกป้องปัญหาไฟเกินได้อย่างรวดเร็ว จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ไม่ติดเบรกเกอร์อันตรายไหม

การติดเบรกเกอร์นั้นเป็นตัวเลือกว่าจะติดหรือไม่ติดก็ได้ แต่การไม่ติดเบรกเกอร์นั้นถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก หากระบบไฟฟ้าภายในบ้านเกิดปัญหา ก็จะไม่มีตัวช่วยป้องกันในการตัดระบบไฟ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบไฟในบ้าน สายไฟไหม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้อีกด้วย 

สับเบรกเกอร์ช่วยประหยัดไฟไหม


การสับเบรกเกอร์ หรือการปิดเบรกเกอร์นั้นเป็นการตัดกระแสไฟไม่ให้เกิดการทำงาน ซึ่งช่วยให้ประหยัดไฟได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น ดังนั้นการจะเปิดหรือปิดเบรกเกอร์ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ไฟนานๆ ควรสับเบรกเกอร์ลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟกระชากนั่นเอง

สรุปบทความ

ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยเลือกใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าเป็นผู้ติดตั้งโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และทรัพย์สินภายในบ้าน นอกจากนี้ควรติดตั้งเบรกเกอร์เสมอ สำหรับเบรกเกอร์ คือ ตัวที่ช่วยตัดกระแสไฟ เมื่อตรวจพบว่าเกิดปัญหาไฟฟ้าเกิน ไฟฟ้ารั่ว หรือไฟช็อต ซึ่งช่วยให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งานไฟฟ้ามากขึ้น ที่สำคัญการเลือกเบรกเกอร์ไฟบ้านควรเลือกให้เหมาะสมกับกระแสไฟ จำนวน Pole ที่ใช้งาน รวมถึงเหมาะสมกับฟังก์ชันการใช้งาน เพื่อช่วยให้ตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานของไฟในบ้านมากที่สุด สำหรับใครที่กำลังมองหา ตู้ควบคุมไฟฟ้า สายไฟ และปลั๊กไฟ เพื่อปรับระบบไฟฟ้าภายในบ้านให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ที่ Global House มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับรองมาตรฐานให้เลือกมากมาย ช่วยให้มีความมั่นใจได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน



คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 1,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 100 บาท
  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 9,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 1,000 บาท
  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม แลกซื้อเครื่องดื่ม ที่ลามายอนคอฟฟี่ทุกสาขา


Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว

เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่

บริการช่างดี




เนื้อหาที่คล้ายกัน