img


ทำความรู้จัก “เหล็กเต็ม“ คืออะไร ต่างจากเหล็กไม่เต็มอย่างไร?

สิ่งปลูกสร้างอย่างอาคารบ้านเรือนต้องการความแข็งแรง เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ซึ่ง “เหล็กเส้น” (เหล็กเต็ม/เหล็กไม่เต็ม) ก็เป็นวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นโครงสร้างหลักที่จะทำให้บ้านแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักได้แบบจัดเต็ม แต่ถ้าหากว่าผู้รับเหมาก่อสร้างตั้งใจเลือกเหล็กเส้นผิดชนิดมาใช้งาน เพราะอยากลดต้นทุนและเพิ่มกำไรล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น? สิ่งแรกที่สามารถคาดเดาได้เลยคืออาจมีปัญหาตามมาในไม่ช้าก็เร็วอย่างแน่นอน ทั้งบ้านไม่แข็งแรง บ้านเสื่อมสภาพเร็ว หรือบ้านอาจถล่มจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตเลยก็ได้เช่นกัน


ดังนั้น เพื่อให้คุณได้บ้านที่ปลอดภัย จากการใช้วัสดุที่เหมาะสม และรู้เท่าทันผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้จัดจำหน่ายเหล็กโครงสร้างทั้งหลายได้ วันนี้ทาง Global House จะมาอธิบายเรื่อง “เหล็กเต็ม เหล็กไม่เต็ม” ให้รู้จักกัน อาทิ เหล็กเต็มคืออะไร, เหล็กไม่เต็มคืออะไร, เหล็กเต็ม เหล็กไม่เต็ม แตกต่างกันอย่างไร, เหล็กแบบไหนเหมาะกับการใช้ก่อสร้างบ้าน และรวมไปถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเหล็กด้วย เมื่อคุณอ่านบทความนี้จบแล้ว รับรองได้เลยว่าคุณจะไม่ถูกหลอกหรือโกงชัวร์!


หัวข้อไฮไลท์

  • เหล็กเต็ม เหล็กไม่เต็ม แตกต่างกันอย่างไร?
  • วิธีการตรวจสอบเหล็กเต็ม/เหล็กไม่เต็ม
  • แนะนำเหล็กเต็มตรงตามมาตรฐาน มอก.
  • เลือกซื้อเหล็กเส้นตรงคุณภาพดีที่ Global House
  • สรุปบทความ


เหล็กเต็ม เหล็กไม่เต็ม แตกต่างกันอย่างไร?


ผู้รับเหมาเป็นผู้ที่รู้ดีว่าเหล็กเต็มกับเหล็กไม่เต็มมีความแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะกับการนำไปใช้งานอย่างไรบ้าง แต่คนทั่วไปอย่างเราๆ อาจจะไม่ได้รู้ลึกถึงขั้นนั้น แค่เดินไปร้านขายวัสดุก่อสร้าง เพื่อจะซื้อเหล็กเส้นมาให้ช่างยังอาจจะ “งง” ได้เลย เพราะถูกถามต่อว่า “จะเอาเหล็กแบบไหน? เหล็กเต็มหรือเหล็กไม่เต็ม” ด้วยเหตุนี้ ใครที่มีแพลนจะสร้างบ้านอยู่ล่ะก็ การทำความรู้จักเหล็กเต็ม เหล็กไม่เต็มไว้ล่วงหน้าก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียหายอะไร หนำซ้ำยังทำให้รู้เท่าทันช่างรับเหมาก่อสร้างได้อีกต่างหาก เรามาดูกันเลยว่าเหล็กทั้งสองแบบนี้คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเหมาะกับการนำไปใช้งานลักษณะไหนเป็นที่สุด!


เหล็กเต็มคืออะไร?

เหล็กเต็มคือเหล็กเส้นคุณภาพดี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาว และน้ำหนักที่ตรงตามมาตรฐาน มอก. (มีอีกชื่อหนึ่งว่าเหล็ก มอก.) มีความแข็งแรง ทนทาน คงทน เหนียวแน่น รองรับน้ำหนักได้ดี เหมาะกับการนำไปใช้เป็นเหล็กโครงสร้าง เน้นการใช้กับงานที่มีการออกแบบมาอยู่แล้วหรือเน้นทำตามแบบ

เหล็กไม่เต็มคืออะไร?

เหล็กไม่เต็มคือเหล็กเส้นที่มีคุณภาพ น้ำหนัก ความหนา ขนาด ความยาว หรือผลิตจากวัสดุที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. ทำให้มีราคาถูกและน้ำหนักเบา (มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่าเหล็กเบา) ซึ่งเหล็กไม่เต็มสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ ใช้ทำเป็นเหล็กหนวดกุ้งในงานก่อสร้างผนัง, ใช้เป็นเหล็กเสริมงานคอนกรีตที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก, ใช้เป็นเหล็กโครงสร้างหล่อกระถางต้นไม้ หรือใช้กับงานที่ไม่ได้มีการรองรับน้ำหนักเยอะๆ แต่ไม่เหมาะกับการนำไปใช้เป็นโครงสร้างของบ้านเลย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากเหล็กชนิดนี้ไม่ได้แข็งแรงมากนักและยังรองรับน้ำหนักได้น้อยอีกด้วย



วิธีการตรวจสอบเหล็กเต็ม/เหล็กไม่เต็ม


การยัดไส้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพไว้ในสินค้าที่มีคุณภาพ มีให้เห็นอยู่ทุกวงการเลยก็ว่าได้ บางครั้งช่างอาจให้คุณตรวจสอบคุณภาพของเหล็กโครงสร้างเพื่อยอมรับสินค้ามาใช้งาน สำหรับมือใหม่ที่ตรวจสอบเหล็กเต็มเป็นครั้งแรก แนะนำให้ตรวจสอบตั้งแต่ด้านบนยันด้านล่าง สลับกันไปหลายๆ จุด และตรวจสอบทุกล็อตเลยยิ่งดี เพื่อป้องกันการถูกสอดไส้สินค้า เนื่องจากมีบางกรณีที่มีการวางเหล็กเต็มไว้ด้านบนแค่ 10-20% ส่วนด้านล่างเป็นเหล็กไม่เต็มล้วนๆ คนที่ตรวจคุณภาพเหล็กแค่ด้านบนก็จะไม่ทราบว่ากำลังโดนโกงอยู่นั่นเอง

เหตุการณ์เช่นนี้ นอกจากจะทำให้คุณขาดทุนเพราะจ่ายเหล็กไม่เต็มไปในราคาเหล็กเต็มแล้ว ยังทำให้โครงสร้างบ้านของคุณไม่แข็งแรงและเสี่ยงอันตรายอีกด้วย แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหล็กเส้นที่ถูกเตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างบ้านของเรา เป็นเหล็กเส้นเต็มที่มีคุณภาพและแข็งแรงจริงๆ คำตอบคือสามารถเช็กได้จากใบกำกับเหล็ก ที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ระบุไว้, ขนาดของเหล็ก และน้ำหนักของเหล็ก โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มาตราฐาน มอก.

อย่างแรกของการตรวจสอบว่าเหล็กที่คุณได้รับมานั้นเป็นเหล็กเต็มหรือไม่ ให้เริ่มจากการดูใบกำกับเหล็กที่แนบมา ซึ่งใบกำกับเหล็กจะแจ้งรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเหล็กอย่างครบถ้วน อาทิ เครื่องหมาย มอก. , ขนาดของเหล็ก, ชนิดของเหล็ก หรือน้ำหนักของเหล็ก เป็นต้น โดยให้เน้นดูที่เครื่องหมาย มอก. เป็นหลัก หากมีเครื่องหมาย มอก. กำกับไว้ก็แน่ใจได้เลยว่าเป็นเหล็กเต็มแน่นอน แต่ในกรณีที่ไม่มีใบกำกับเหล็กแนบมากด้วย ทำหาย หรือสั่งเหล็กเส้นในจำนวนไม่เยอะเท่าไหร่ สามารถเช็กจากรอยปั้ม มอก. บนเนื้อเหล็กแทนก็ได้เช่นกัน

เครื่องหมาย มอก. คือเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชิ้นนั้น ถูกตรวจสอบคุณภาพและผ่านมาตรฐาน จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มาแล้วเป็นที่เรียบร้อย เพื่อให้เรามั่นใจว่าได้สินค้าดีมีคุณภาพมาใช้งาน สำหรับเหล็กโครงสร้างที่ใช้สำหรับการก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านจะเป็นเหล็กมาตรฐาน มอก. 107-2561 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดท่อเหล็กกล้าคาร์บอนสำหรับโครงสร้างทั่วไป ประกอบไปด้วยท่อเหล็กกลม ท่อเหล็กเหลี่ยม และท่อเหล็กแบน)
คุณสมบัติเหล็กมาตรฐาน มอก. 107-2561

  • มีค่า Tensile Strength (ค่าความต้านทานแรงดึง) มากกว่า 400 MPa
  • ผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบ และได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  • มีเอกสารรับรองคุณภาพของเหล็กและแจ้งรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วน อาทิ จำนวนเส้นต่อมัด, วันที่ผลิต, เลขที่เตาหลอม, เครื่องหมาย มอก. , บริษัทผู้ผลิต, ประเภทสินค้า, ขนาด, ความยาว, น้ำหนัก และคุณภาพ เป็นต้น
  • มีการพิมพ์ชื่อแบรนด์กำกับบนตัวเหล็ก
  • การทดสอบและการตรวจสอบเหล็กต้องได้รับอนุญาตจาก สมอ.
  • ขนาด มิติ รูปลักษณ์ มิติ ความยาว ฯลฯ มีมาตรฐาน มอก. และมีคุณสมบัติเท่ากันทุกล็อต
  • และอื่นๆ ที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ สมอ. กำหนด


2. ขนาดและความหนาของเหล็ก

ขนาด ความหนา และรูปลักษณ์ต้องตรงตามมาตรฐาน โดยให้สังเกตจากจุดสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนาเรียบเนียน หน้าตัดดูเรียบร้อย ไม่เบี้ยว ไม่มีลูกคลื่น ไม่เป็นตามด, เส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันตลอดทั้งเส้น, เนื้อเหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน, เหล็กไม่เป็นสนิม ไม่หยาบ ไม่เป็นเกล็ด ไม่แตก, ไม่มีรูตำหนิ และมีขนาดที่ถูกต้อง

ขนาดของเหล็กเส้นเต็มตามมาตรฐาน

  • เหล็กเส้นกลม : 6 มม. / 9 มม. / 12 มม. / 15 มม. / 19 มม. และ 25 มม.
  • เหล็กข้ออ้อย :  10 มม. / 12 มม. / 16 มม. / 20 มม. / 25 มม. / 28 มม. และ 32 มม.


3. น้ำหนักของเหล็ก

นอกจากการเช็กน้ำหนักของเหล็กจากใบกำกับเหล็กแล้ว คุณก็สามารถเช็กได้เองเช่นกัน โดยให้ตัดเหล็กเส้นขนาด 1 เมตรออกมา แล้วนำไปช่างน้ำหนักและเช็กว่าน้ำหนักตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. หรือไม่ สำหรับขนาดของเหล็กที่ตรงตามมาตรฐาน คือ

น้ำหนักตามมาตรฐานของเหล็กเส้นกลม

  • เหล็กเส้นกลมขนาด 6 มม. ควรหนัก 0.222 กก.
  • เหล็กเส้นกลมขนาด 9 มม. ควรหนัก 0.499 กก.
  • เหล็กเส้นกลมขนาด 12 มม. ควรหนัก 0.888 กก.
  • เหล็กเส้นกลมขนาด 15 มม. ควรหนัก 1.387 กก.
  • เหล็กเส้นกลมขนาด 19 มม. ควรหนัก 2.226 กก.
  • เหล็กเส้นกลมขนาด 25 มม. ควรหนัก 3.853 กก.


น้ำหนักตามมาตรฐานของเหล็กเส้นข้ออ้อย 

  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 10 มม. ควรหนัก 0.616 กก.
  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 12 มม. ควรหนัก 0.888 กก.
  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 16 มม. ควรหนัก 1.578 กก.
  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 20 มม. ควรหนัก 2.466 กก.
  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 25 มม. ควรหนัก 3.853 กก.
  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 28 มม. ควรหนัก 4.834 กก.
  • เหล็กเส้นข้ออ้อยขนาด 32 มม. ควรหนัก 6.313 กก.



แนะนำเหล็กเต็มตรงตามมาตรฐาน มอก.

โกลบอลเฮ้าส์ เราคำนึงถึงความปลอดภัยและมาตรฐานของวัสดุก่อนสร้างบ้านทุกรายการ ซึ่งเหล็กเส้นที่เรานำมาจำหน่ายและแนะนำคุณล้วนได้มาตรฐาน มอก. ทั้งขนาด ความยาว น้ำหนัก และรวมไปถึงคุณภาพในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน สำหรับผู้รับเหมาหรือผู้ที่กำลังมีแพลนจะก่อสร้างบ้าน สามารถเลือกชมเหล็กเต็มที่น่าสนใจได้จากบทความนี้ได้เลย!


1. เหล็กเส้นกลม SR24 มาตรฐาน มอก.



  • เหล็กเส้นกลม 6 มม. SR24 มาตรฐาน มอก. 24-2548 (มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 2,400 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร) ผิวเรียบ ยาว 10 เมตร เหมาะกับการนำไปใช้เป็นเหล็กปลอกในคานหรือในเสา
  • เหล็กเส้นกลม 9 มม. SR24 มาตรฐาน มอก. สำหรับการนำไปใช้เป็นเหล็กปลอกในคานหรือในเสา ความยาว 10 เมตร หน้าตัดกลม เรียบสวย ไม่เบี้ยว ตรงตามมาตรฐานทุกด้าน 


2. TATA เหล็กเส้นกลม SR24 มาตรฐานมอก.




TATA เหล็กเส้นกลม มาตรฐาน มอก. SR24 (มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 2,400 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร) ไร้รอยตำหนิ ปริ แตกร้าว ลูกคลื่น ฯลฯ หน้าตัดกลมเรียบไม่เบี้ยว เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้อง น้ำหนักเต็มทุกเส้น ผลิตด้วยเตา EF ที่มีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากเหล็ก ทำให้ได้เหล็กที่บริสุทธิ์เป็นเนื้อเดียวกัน


3. TATA เหล็กข้ออ้อย SD40 มาตรฐาน มอก.




TATA เหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน มอก. SD40 (มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร) ผลิตด้วยเตา EF ที่มีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากเหล็ก ทำให้ได้เหล็กที่บริสุทธิ์เป็นเนื้อเดียวกัน มีครีบ-บั้งสูงทำให้ยึดเกาะกับปูนได้ดี ระยะบั้งเท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีตำหนิ ไม่มีสนิม ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ความยาว 10 เมตร

เลือกซื้อเหล็กเส้นตรงคุณภาพดีที่ Global House

เหล็กเส้นตรง เป็นเหล็กเต็มชนิดหนึ่งที่ต้องใช้งานก่อสร้างทุกรูปแบบ ในวงการช่างนิยมเรียกกันว่า เหล็กเส้นก่อสร้าง ใช้สำหรับงานก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร คอนโด หรือเสริมงานคอนกรีต งานถนน และงานสะพานต่างๆ สามารถใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องแปรรูป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

เหล็กเส้นกลม (Round Bars) เหล็กเส้นกมที่มีผิวเรียบ ไม่มีรอยปริแตก ไม่มีลูกคลื่น นิยมใช้ในงานปลอกเสา ปลอกคาน และงานก่อสร้างขนาดเล็ก

เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) เหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง หรือปล้องตลอดทั้งเส้นเพื่อเสริมกำลังยึด ระหว่างเนื้อคอนกรีตกับเหล็ก นิยมใช้กับงานก่อสร้างขนาดกลางขึ้นไป

สนใจซื้อเหล็นเส้นตรงคุณภาพดี โกลบอลเฮ้าส์ศูนย์รวมเหล็กคุณภาพ เหล็กเส้นตรงหลากหลายรูปแบบ ทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย



สรุปบทความ

สร้างบ้านทั้งทีต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก ดังนั้น โครงสร้างของบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องใส่ใจ เพราะถ้าคุณใช้เหล็กไม่เต็มมาเป็นโครงสร้างตัวบ้านล่ะก็ บ้านของคุณอาจไม่แข็งแรง มีอายุการใช้งานสั้น และถล่มลงมาจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและทรัพย์สินได้  ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญในการเลือกคุณภาพของเหล็กโครงสร้างมาใช้งาน อย่างการลงทุนเลือกใช้เหล็กเต็มหรือเหล็ก มอก. มาใช้งาน แทนการเลือกเหล็กเบาหรือเหล็กไม่เต็มนั่นเอง

ซึ่งในบทความนี้เราก็ได้ทราบกันไปแล้วว่าเหล็กเต็มคืออะไร, เหล็กเต็ม เหล็กไม่เต็มแตกต่างกันอย่างไร และวิธีตรวจสอบเหล็กเต็มที่ได้มาตรฐาน มอก. หวังว่าคุณจะได้เหล็กคุณภาพดีไปใช้งาน สุดท้ายนี้ หากคุณกำลังมองหาหรือนึกถึงวัสดุก่อสร้าง ของตกแต่งบ้าน หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่าลืมเข้ามาที่ https://globalhouse.co.th เพราะเรามีครบ! พร้อมบริการส่งตรงถึงบ้านและบริการติดตั้งครบวงจร

เหล็ก

เหล็กรูปพรรณ

เหล็กเส้น


เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่

Facebook: Global House โกลบอลเฮ้าส์

Line@: @globalhouse

TikTok: globalhouseofficial

App Click&Collect


บริการช่างดี

App ช่างดี

Web ช่างดี บริการติดตั้ง

Facebook: ChangDeeService

Line Official: @Changdee




เนื้อหาที่คล้ายกัน