ใครที่กำลังเจอกับปัญหา แอร์มีเสียงดัง ทำให้รู้สึกหงุดหงิด นอนไม่หลับตลอดทั้งคืน จนรู้สึกเหนื่อยล้าและพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับใครที่ไม่อยากให้แอร์ส่งเสียงดัง และไม่อยากทนกับเสียงที่น่ารำคาญ วันนี้ โกลบอลเฮ้าส์ จะมาบอกถึงสาเหตุของปัญหาว่า เพราะอะไรถึงทำให้แอร์ของคุณมีเสียงดัง พร้อมวิธีในการแก้ไขเบื้องต้น และยังสามารถป้องกันไม่ให้แอร์กลับมาส่งเสียงดังอีกด้วย!!
แอร์มีเสียงดัง เป็นปัญหาที่รบกวนการนอนมากที่สุดเลยก็ว่าได้ และถ้าหากใช้งานแอร์ที่มีเสียงดังไปนานๆ อาจเกิดการชำรุดเสียหายมากกว่าเดิม จนถึงขั้นที่จะต้องซื้อเครื่องปรับอากาศใหม่มาเปลี่ยน โดยสาเหตุที่แอร์ส่งเสียงดังสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพองค์ประกอบของแอร์ได้อย่างชัดเจน ขออธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า แอร์ 1 ชุดนั้นประกอบไปด้วย
สำหรับสาเหตุที่ทำให้แอร์มีเสียงดัง เกิดขึ้นได้จาก 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้
ใครที่เพิ่งซื้อแอร์มาใหม่ และต้องการบริการช่างติดตั้งแอร์ โกลบอลเฮ้าส์ เรามี ช่างดีบริการติดตั้งแอร์ แต่หากได้ให้ช่างทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้คุณลองเปิดแอร์ใช้งานดู หากพบว่ามีเสียงดังออกมาอย่างผิดปกติ ให้คุณลองฟังก่อนว่า เสียงที่ดังนั้นมาจากส่วนไหน เป็นเสียงจากตัวเครื่องที่อยู่ภายในบ้าน หรือนอกบ้าน หากเสียงเกิดขึ้นที่คอมเพรสเซอร์นอกบ้าน หรือคอยล์ร้อน เป็นไปได้ว่าช่างอาจไม่ได้ทำการขันนอตอย่างแน่นหนา เมื่อไหร่ที่คอยล์ร้อนทำงาน จะทำให้ตัวเครื่องด้านนอกเกิดการสั่นจนกลายเป็นเสียงที่คุณได้ยิน ถือว่าเป็นการติดตั้งแอร์ที่ไม่ได้รับการตรวจสอบที่ดีจากช่าง หรือการที่คุณใช้งานไปนานๆ เครื่องเกิดการสั่นสะเทือนบ่อยๆ จนนอตคลายตัว ก็ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ส่งเสียงดังออกมา หรือใครที่เพิ่งล้างแอร์ไปก็สามารถเกิดเสียรบกวนจากการที่ช่างไม่ได้ทำการเช็กให้ดีหลังจากที่ประกอบเครื่อง ทำให้มีอุปกรณ์บางตัวที่อยู่ภายในเครื่องกระแทกกันจนเกิดเป็นเสียงได้เช่นกัน
วิธีในการแก้ไขง่ายๆ หากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอยล์ร้อนนอกบ้าน ให้คุณหาไขควงเบอร์เดียวกับนอตที่หลวม แล้วทำการขันนอตจนรู้สึกว่าแน่นมากพอที่จะไม่ทำให้นอตเกิดการคลายตัวออกมาได้อีกครั้ง แต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากเพิ่งล้างแอร์ไป เพราะช่างประกอบแอร์ไม่ได้มาตรฐาน ให้คุณติดต่อช่างให้มาเช็กใหม่อีกครั้งว่า จุดไหนที่เกิดจากการประกอบผิดพลาด หรือหากคุณพอมีความรู้พื้นฐาน ให้ลองถอดแอร์ออกมา และประกอบกลับเข้าไปใหม่ เพื่อตรวจเช็กซ้ำอีกครั้ง
ใบพัดลมแอร์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 จุด คือ ใบพัดลมคอยล์เย็น หรือโพรงกรงกระรอก จะเป็นใบพัดตัวเครื่องภายในอาคาร และใบพัดลมคอยล์ร้อนอยู่ในคอมเพรสเซอร์ภายนอกอาคาร ใครที่ใช้แอร์มานานหลายปี และไม่ได้ทำการเช็กอย่างสม่ำเสมอ ไม่รู้ว่าใบพัดลมแอร์เกิดมีรอยร้าว จึงเปิดใช้งานแอร์ไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งใบพัดลมแอร์แตกเสียหาย และจุดศูนย์ถ่วงของพัดลมเสียสมดุล ส่งผลให้ตัวใบพัดลมแอร์ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หากคุณเช็กแล้วว่า ใบพัดลมแอร์หัก แนะนำให้รีบเปลี่ยนทันที ไม่อย่างนั้นใบพัดอาจจะแตกเพิ่มมากขึ้น และทำให้ภายในเครื่องได้รับผลกระทบจากใบพัดลมแอร์ที่หักได้
สำหรับใครที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับแอร์ สามารถซื้อใบพัดลมคอยล์เย็น หรือใบพัดลมคอยล์ร้อนมาเปลี่ยนเองได้เลย แต่ถ้าหากใครที่ไม่มั่นใจ แนะนำให้เรียกช่างมาตรวจสอบให้จะดีกว่า เพราะว่าถ้าคุณซื้อใบพัดลมแอร์มาเปลี่ยนเอง แล้วซื้อผิดขนาดหรือไม่ตรงกับรุ่น จะทำให้เสียเวลา และมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นได้
ใครที่ใช้แอร์มานานหลายปี หากวันหนึ่งเกิดมีเสียงดังออกมา ให้คุณลองเช็กใบพัดลมแอร์กับอะไหล่ภายในตัวเครื่องก่อนว่า มีชิ้นไหนหลุดหรือไม่ ถ้าตรวจสอบแล้วไม่มีอะไรผิดปกติ อาจจะเป็นไปได้ว่า ตลับลูกปืนของพัดลมเสื่อมสภาพ หรือลูกปืนแห้ง (ตลับลูกปืนจะมีอยู่ในพัดลมคอยล์เย็นกับพัดลมคอยล์ร้อน) แต่ถ้าเกิดคุณเช็กแล้วว่าไม่ได้เป็นที่ตลับลูกปืน และคอมเพรสเซอร์ยังส่งเสียงดังอยู่ ให้คุณเช็กที่ฐานของตัวเครื่องว่า ลูกยางเริ่มฉีกขาดแล้วหรือไม่ เพราะถ้าลูกยางเสื่อมสภาพ เวลาที่คอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะเริ่มเกิดการสั่น ทำให้เหล็กที่โผล่ออกมาจากลูกยางกระแทกกับพื้นจนเกิดเสียงได้ หรือสำหรับใครที่ไม่ได้วางคอมเพรสเซอร์ไว้กับพื้น ติดโครงเหล็กของคอมเพรสเซอร์ยึดกับกำแพง เพื่อที่จะยกคอมเพรสเซอร์ให้สูงขึ้น พอเวลาผ่านไปหลายปีนอตที่ยึดตัวเครื่องกับโครงเหล็ก และนอตของโครงเหล็กที่ยึดกับกำแพง มีโอกาสที่จะเริ่มคลายออกมา ทำให้เป็นต้นตอของคอมเพรสเซอร์แอร์มีเสียงดังได้
การเปลี่ยนตลับลูกปืน จะต้องให้ช่างผู้ชำนาญทำการเปลี่ยน เพราะมีวิธีในการถอดตลับลูกปืนออกมาค่อนข้างซับซ้อน หากทำผิดขั้นตอน อาจมีโอกาสทำให้อะไหล่ส่วนอื่นๆ ได้รับความเสียหายได้ แต่ถ้าเป็นปัญหาลูกยางเสื่อมสภาพ คุณสามารถหาซื้อมาเปลี่ยนเองได้เลย แค่เพียงยกเครื่องขึ้นเพื่อใส่ยาง (แต่ต้องระวังอย่ายกเครื่องให้สูงมากเกินไป ไม่อย่างนั้นจะทำให้ท่อแอร์ขาดได้) ส่วนนอตของใครที่เริ่มหลุดออกมาจากตรงโครงเหล็กที่ยึดกับกำแพง จะต้องเช็กให้ดีว่า เกลียวหวานหรือไม่ เพราะถ้าเกลียวหวาน หรือเกลียวชำรุด ทำให้ขันนอตเท่าไหร่ก็ไม่แน่น จะต้องทำการเจาะรูใหม่เพิ่มมาแทนรูเก่า
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า การไม่ทำความสะอาดแอร์เกี่ยวข้องยังไงกับแอร์มีเสียงดังก็เพราะว่า ถ้าคุณไม่ได้ล้างแอร์มานานจะทำให้มีฝุ่น และสิ่งสกปรกเข้าไปตกค้างอยู่ภายในเครื่อง นอกจากพวกฝุ่น ยังมีพวกสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยเข้าไปในเครื่องได้ อย่างเช่น การที่มีเศษใบไม้กับขยะอยู่ภายในแอร์ ซึ่งเกิดจากการที่หนูเข้าไปทำรัง ทำให้พวกเศษขยะเข้าไปติดอยู่ในท่อจนเกิดเป็นเสียงดัง หรือมีแมลงสาบหลุดเข้าไปข้างในเครื่อง และโดนใบพัดลมแอร์ตีจนส่งเสียงออกมาได้เช่นกัน แถมยังมีโอกาสที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่าจากซากสัตว์ที่ตายอยู่ในเครื่อง รวมทั้งกลิ่นเหม็นอับชื้นของเชื้อรา เพราะพวกสิ่งสกปรกเหล่านั้น จะเข้าไปอุดตันอยู่ในท่อ ทำให้ท่อไม่สามารถระบายน้ำได้
แนะนำให้ทำความสะอาดแอร์ด้วยตัวเองในวิธีเบื้องต้น คือ ถอดฟิลเตอร์ออกมาล้าง ใช้น้ำเปล่าฉีดที่แผ่นกรองฝุ่นให้ทั่ว และใช้นิ้วถูเบาๆ เพื่อให้พวกฝุ่นที่หลงเหลืออยู่ในแผ่นกรองหลุดออกไป หรือเรียกช่างให้มาล้างแอร์ เพราะ บริการล้างแอร์จากช่าง จะมีการทำความสะอาดที่เต็มรูปแบบทั้งบริเวณคอยล์เย็น และคอยล์ร้อน ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกทุกซอกทุกมุม และยังช่วยไม่ให้ท่อน้ำทิ้งเกิดการอุดตันอีกด้วย
สำหรับแอร์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปี จะต้องหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นคอยล์เย็น คอยล์ร้อน ท่อน้ำทิ้ง และน้ำยาแอร์ ที่สำคัญควรให้ช่างมาล้างแอร์อย่างน้อยทุกๆ 4 เดือน เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่า สภาพการใช้งานแอร์ของคุณล่าสุดเป็นยังไง เพราะถ้าคุณไม่ทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เมื่อไหร่ที่แอร์มีปัญหา คุณก็จะใช้งานตัวเครื่องไปโดยไม่รู้ตัว จนภายในเครื่องปรับอากาศเกิดการชำรุดเสียหายมากกว่าเดิม
เพราะเป็นระบบที่จะช่วยทำให้แอร์ของคุณมีการทำงานที่เงียบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะที่คอยล์เย็น หรือคอยล์ร้อย เนื่องจากการทำงานของตัวเครื่องจะเป็นแบบการลดกับเพิ่ม คือ เมื่อไหร่ที่เครื่องสามารถทำความเย็นไปถึงจุดที่คุณกำหนดไว้ ตัวคอมเพรสเซอร์จะลดรอบการทำงาน จึงไม่ทำให้แอร์ส่งเสียงดัง ช่วยให้คุณนอนหลับพักผ่อนได้อย่างสบาย ต่างกับแอร์ระบบธรรมดา ที่เป็นแบบติดกับดับ หรือการเปิดและปิดของคอมเพรสเซอร์ ส่งผลให้ตัวเครื่องทำงานแบบกระชากจนทำให้เกิดเสียง และมีโอกาสที่มอเตอร์เสียได้ง่ายอีกด้วย
แอร์มีเสียงดัง อาจเป็นปัญหาสำหรับคนที่หลับยาก หากต้องทนนอนฟังเสียงแอร์ไปนานๆ จะทำให้คุณพักผ่อนไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ถ้าคุณรู้สาเหตุที่แท้จริงแล้วว่า ทำไมแอร์ถึงส่งเสียงดัง ก็จะช่วยให้คุณรู้วิธีในการแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งคอมเพรสเซอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้นอตหลวม คุณก็สามารถเอาไขควงมาไขให้แน่นขึ้นได้ หรือเครื่องส่งเสียงดังไม่หยุด พอเช็กกลับพบว่าใบพัดลมแอร์หักก็แค่หาใบพัดลมมาเปลี่ยนใหม่ ส่วนใครที่ไม่ได้ล้างแอร์มานาน ทำให้ภายในเครื่องมีสิ่งสกปรกอย่างพวกฝุ่น หนู และแมลง เข้าไปอยู่จนทำให้เกิดเสียงดัง แถมยังส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกมา แนะนำว่าควรจะล้างแอร์อย่างน้อยทุกๆ 4 เดือน เพียงเท่านี้แอร์ของคุณก็จะไม่ส่งเสียงดังออกมา ช่วยให้คุณได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม และการนำวิธีในการป้องกันแอร์ไม่ให้เสียงดังมาใช้ จะเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
สำหรับใครที่รู้สาเหตุของ แอร์มีเสียงดัง ก็จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาแบบเบื้องต้นได้ ทำให้เครื่องปรับอากาศของคุณไม่ส่งเสียงดังออกมาให้กวนใจอีกต่อไป นอกจากนี้ อย่าลืมคำนึงถึงสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เครื่องปรับอากาศ ที่คุณติดตั้งนั้น มีบริการหลังการขายที่ครบครันให้กับคุณหรือไม่ หากคุณเกิดข้อสงสัยในส่วนนี้ สามารถไปดูสินค้าจริงได้เลยที่ Global House ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยทางโกลบอลเฮ้าส์ จะมีพนักงานที่พร้อมให้บริการตอบคำถาม
และมี บริการในการติดตั้ง หรือ ล้างเครื่องปรับอากาศ สุดพิเศษจากช่างดีบริการครบ จบเรื่องบ้าน เพราะนอกจากจะมีบริการล้างแอร์แล้ว ยังมี บริการฉีด พ่น ฆ่าเชื้อ อีกด้วย หรือจะช้อปผ่านออนไลน์ก็ง่าย สบายกระเป๋า ผ่อนก็คุ้มกับโกลบอลเฮ้าส์ ที่ให้ สิทธิพิเศษในการผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด) นอกจากเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ แล้วทาง Global House เอง ยังให้บริการจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และสินค้าตกแต่งบ้านที่ดีด้วย A Better Choice for A Better Home
Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว
เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่
Facebook: Global House โกลบอลเฮ้าส์
Line@: @globalhouse
TikTok: globalhouseofficial
App Click&Collect
บริการช่างดี
App ช่างดี
Facebook: ChangDeeService
Line Official: @Changdee
เนื้อหาที่คล้ายกัน