เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น โดยไม่มีสัญญาณว่าจะลดลง สำหรับประเทศไทยที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ยิ่งทำให้มีความร้อนสูง โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นพิเศษ ส่งผลให้บ้านนั้นมีความร้อน โดยเฉพาะบ้านที่มีแสงแดดส่องเข้ามาได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่มีการป้องกัน ทั้งความร้อนที่มาจากผนังปูนเก็บสะสมไว้ตลอดทั้งวัน และความร้อนจากหลังคาที่พระอาทิตย์ส่องลงมาโดยตรง จะเปิดแอร์อย่างเดียวค่าไฟก็พุ่งกระฉูด สำหรับใครที่อยากจะแก้ปัญหาบ้านร้อนในระยะยาว การติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาเป็นตัวช่วยที่ทำให้บ้านนั้นเย็นขึ้นได้ ไปดูกันว่าต้องเลือกอย่างไรให้ได้ฉนวนกันความร้อนที่เหมาะกับบ้านของเรา
ฉนวนกันความร้อน คือวัสดุที่ทำหน้าที่ในการป้องกันความร้อนไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาภายในบ้าน หรือทำหน้าที่ให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้น้อยที่สุด เพื่อช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านนั้นไม่สูงจนเกินไป โดยทั่วไปแล้วนิยมติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา และผนัง เพื่อลดความร้อน ซึ่งฉนวนกันความร้อนนั้นมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติในการกันความร้อนที่แตกต่างกันออกไป
ใต้หลังคาเป็นบริเวณที่นิยมติดฉนวนกันความร้อนมากที่สุด เนื่องจากเป็นบริเวณที่แสงแดดส่องเข้ามาได้โดยตรง ซึ่งการติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคานั้น สามารถติดได้ทั้งบนฝ้า เพื่อช่วยไม่ให้เกิดการสะสมความร้อนระหว่างวันได้ และติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา เพื่อไม่ให้ความร้อนผ่านเข้าสู่ภายในตัวบ้านได้โดยตรง ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีทั้งแบบพ่น และแบบแผ่นให้เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น เป็นฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูปที่ทำมาจากวัสดุหลากหลายชนิด มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีความอ่อนตัว สามารถดัดให้โค้งเว้าเข้ากับรูปทรงของหลังคาได้ ช่วยให้การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นนั้นทำได้ง่าย ที่สำคัญสามารถติดตั้งได้หลายบริเวณ ทั้งใต้หลังคา บริเวณแปรองแผ่นหลังคา ผนังบ้าน หรือบริเวณฝ้าก็สามารถติดได้ แต่ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาจะต้องมีน้ำหนักเบา เพื่อไม่ให้ฝ้ารับน้ำหนักมากจนเกินไป
สำหรับฉนวนกันความร้อนแบบพ่น คือ ฉนวนกันความร้อนที่เป็นของเหลว โดยนำมาพ่นในบริเวณที่ต้องการป้องกันไม่ให้ความร้อนส่องเข้ามาถึง ช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านลดลง สำหรับฉนวนกันความร้อนแบบพ่นนั้น ใช้สำหรับบริเวณที่ยากต่อการติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น หรือพื้นที่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ทำให้ติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้ยาก การใช้ฉนวนกันความร้อนแบบพ่นจึงเป็นทางออกที่ดี สามารถพ่นได้ในทุกบริเวณ รวมถึงบริเวณนอกบ้านด้วย แต่การพ่นจะต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และเครื่องมือสำหรับการพ่นเท่านั้น
ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาเป็นวัสดุที่ช่วยดูดซับแสง และช่วยป้องกันไม่ให้แสงผ่านเข้าไปในบ้านได้โดยตรง ซึ่งบางชนิดมีคุณสมบัติที่ช่วยสะท้อนความร้อนได้อีกด้วย สำหรับฉนวนกันความร้อนใต้หลังคานั้นมีด้วยกันทั้งหมด 8 ประเภท แต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติพิเศษ ข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่กำลังมองหาฉนวนกันความร้อน เพื่อติดใต้หลังคา แต่ไม่รู้จะต้องเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนชนิดใด ไปดูกันว่าฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแต่ละประเภทน่าสนใจอย่างไร
ฉนวนกันความร้อนใยแก้วนั้นเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีโครงสร้างเป็นเส้นใยเล็กๆ ประสานกัน จนเกิดเป็นโพรงอากาศ เมื่อความร้อนส่องเข้ามาก็จะกักเก็บความร้อนไว้ข้างใน ไม่ให้ผ่านเข้าไปภายในบ้าน ซึ่งช่วยลดความร้อนได้เป็นอย่างดี สำหรับฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาใยแก้วนั้นจะมีระดับความหนาให้เลือกตั้งแต่ 2-6 นิ้ว และยังสามารถเลือกได้ด้วยว่าจะใช้แบบเปลือย หรือแบบที่ปิดผิวด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ที่มีส่วนช่วยในการสะท้อนความร้อนได้ แต่การใช้ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาใยแก้ว จะต้องระวังเรื่องความชื้น หากบ้านมีปัญหาน้ำรั่วซึม จนโดนฉนวนกันความร้อนใยแก้ว เส้นใยจะเกิดการยุบตัว ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนลดลง นอกจากนี้เวลาติดตั้งอาจเกิดการฟุ้งกระจายของเส้นใยได้ด้วย
ฉนวนเซลลูโลส เป็นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบเยื่อกระดาษ ซึ่งผลิตมาจากกระดาษที่ใช้แล้ว มีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันความร้อนได้สูง น้ำหนักเบา อีกทั้งยังมีสารที่ช่วยป้องกันไฟลามได้ สำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบเซลลูโลสจะใช้วิธีการพ่น จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งฉนวนในที่แคบๆ ในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบแผ่นได้ ที่สำคัญยังสามารถใช้ได้กับพื้นผิวที่มีความหลากหลาย ทั้งไม้ เหล็ก และฝ้า เป็นต้น
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลิยูรีเทน (Polyurethane Foam หรือ PU) เป็นการนำเทคโนโลยีในการฉีดโฟมเข้ามาช่วยป้องกันความร้อนภายในบ้าน โดยโฟมโพลิยูรีเทนนั้นมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนได้ดี นำความร้อนต่ำ อีกทั้งยังกันมีคุณสมบัติในการกันน้ำ และความชื้นได้อีกด้วย ในปัจจุบันยังมีการนำสารที่ช่วยกันไฟลามผสมเข้าไปด้วย จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้านได้มากขึ้น
ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์เป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับฟอยล์ห่ออาหาร แต่มีความทนทาน หนา และเหนียวกว่ามาก จึงสามารถใช้งานได้นาน มีความคงทน ส่วนใหญ่แล้วนิยมติดตั้งไปพร้อมๆ กับขั้นตอนการปูหลังคา สำหรับฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบอะลูมิเนียมฟอยล์นั้น มีคุณสมบัติที่เบา ไม่ติดไฟ ติดตั้งง่าย ไม่ขึ้นรา แถมยังช่วยป้องกันรังสียูวีได้เป็นอย่างดี แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนนั้นไม่สูง จึงต้องติดควบคู่กับฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาประเภทอื่น เพื่อทำให้กันความร้อนได้ดีขึ้น
ฉนวนโพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam หรือ PE) เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีความหนานุ่ม ซึ่งหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์อีกชั้น เพื่อทำให้มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งบริเวณฝ้า และใต้หลังคา
ฉนวนพอลิสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam หรือ PS : EPS) เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีลักษณะเป็นโฟมสีขาว ที่มีทั้งแบบชนิดแผ่น และแบบที่ติดมากับแผ่นฝ้า ซึ่งช่วยให้มีการติดตั้งที่ง่าย และสะดวกสบาย ช่วยลดขั้นตอนในการติดตั้ง ที่สำคัญเป็นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาที่สามารถกันได้ทั้งความร้อน และความเย็น นอกจากนี้ยังมีประเภทที่มีสารกันไฟลาม ซึ่งทำให้บ้านมีความปลอดภัยในการอยู่อาศัยมากขึ้น
ฉนวนกันความร้อนประเภทใยหิน เป็นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่สามารถกันไฟ และเก็บเสียงได้ดี ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีความคุ้มค่าในการลงทุน สำหรับฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบใยหิน ได้มาจากการนำหินภูเขาไฟมาหลอม และนำไปปั่น เพื่อให้ได้ออกมาให้เป็นเส้นใย แต่ข้อเสียของใยหินคือไม่ทนต่อความชื้น ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาบริเวณห้องที่มีความชื้นอย่างห้องเย็น
8. ฉนวนกันความร้อนแอร์บับเบิล
ฉนวนแบบบับเบิล มีลักษณะคล้ายพลาสติกกันกระแทก ต่างกันตรงที่ฉนวนแบบบับเบิลจะเป็นฟอยล์สีเงิน โดยจะมีมวลอากาศอยู่ข้างในระหว่างแผ่นฟอยล์ที่ประกบกันอยู่ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกักความร้อนไว้ และช่วยสะท้อนความร้อนออกไป ซึ่งฉนวนแบบบับเบิลนั้นสามารถติดตั้งได้ทั้งบริเวณโครงหลังคา และปูใต้ฝ้าแต่ในกรณีที่ติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา หรือติดกับโครงหลังคาจะต้องขึงลวด เพื่อไม่ให้ฉนวนกันความร้อนมีความแน่นหนามากขึ้น ไม่ตกหรือพังลงไปง่ายๆ
เลือกฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคานั้นมีด้วยกันหลายประเภท คุณสมบัติแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นไปดูกันว่าก่อนที่จะเลือกฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาจะต้องพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ฉนวนกันความร้อนที่เหมาะกับความต้องการในการใช้งาน
ค่าต้านทานความร้อน (Resistivity) หรือ ค่า R เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการถ่ายเทความร้อน หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็นค่าที่สามารถบอกว่าฉนวนกันความร้อนนั้นสามารถกันความร้อนได้ระดับใด ยิ่งค่า R สูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความสามารถในการป้องกันความร้อนได้สูง ซึ่งค่า R สามารถคำนวณได้ดังนี้
ค่าความหนาของฉนวน ÷ ค่านำความร้อน = ค่าต้านทานความร้อน
แต่โดยปกติแล้วบรรจุภัณฑ์ของฉนวนกันความร้อนก็จะมีค่า R ระบุไว้เสมอ ยิ่งค่า R มากก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีความสามารถในการต้านทานความร้อนได้สูง หรือฉนวนยิ่งหนา ยิ่งกันความร้อนได้ดีนั่นเอง ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ควรสังเกตค่า R ที่บรรจุภัณฑ์ก่อนเสมอ
การสำรวจตำแหน่งที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ควรทำก่อนเสมอ เพื่อดูว่าบริเวณที่ต้องการติดตั้งนั้นเป็นเช่นไร เพื่อที่จะได้เลือกประเภทฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อย่างถูกต้อง ว่าควรใช้ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นหรือแบบพ่น และจะได้เลือกประเภทของฉนวนได้ถูกต้องด้วย หากห้องที่ต้องการติดฉนวนกันความร้อนมีความชื้นสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฉนวนแบบใยหิน หรือพื้นที่ที่ต้องการติดมีความซับซ้อน โค้งงอเยอะ อาจจะหลีกเลี่ยงฉนวนกันความร้อนโฟม PS เพราะแตกหักได้ง่าย
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ๆ คือการติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น และการใช้แบบพ่น ซึ่งจะเลือกติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบใด จะต้องดูลักษณะของหลังคาเป็นหลัก เพื่อจะได้เลือกได้อย่างเหมาะสม
โครงสร้างหลังคาแบบแปนั้นมีลักษณะเป็นแผงกว้างๆ โดยทำหน้าที่สำคัญในการรับน้ำหนักหรือรองรับแผ่นหลังคาไว้ ด้วยความที่หลังคาแบบแปนั้นเป็นแผงกว้างๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก จึงเหมาะกับการติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาแบบแผ่น เพราะสามารถดัดแผ่นให้โค้งงอไปตามรูปทรงของหลังคาได้อย่างเหมาะสม ทำให้ติดตั้งได้ง่าย
3.2 หลังคาที่มีฝ้ารอง
ในกรณีที่มีโครงสร้างหลังคาที่มีฝ้ารอง สามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ทั้งแบบแผ่น และแบบพ่น แต่ต้องคำนึงเรื่องน้ำหนักเป็นหลัก และควรเลือกฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาที่มีน้ำหนักเบา เหมาะสมกับการรองรับน้ำหนักของฝ้า หากเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีน้ำหนักมากเกินไป อาจทำให้ฝ้ารับน้ำหนักไม่ไหว และถล่มลงมา
3.3 หลังคาเมทัลชีท
เมทีลชีทเป็นหลังคาทีทำมาจากแผ่นเหล็ก ซึ่งมีทั้งแบบแผ่นเรียบ และแบบรีดลอน ซึ่งการมุงหลังคาด้วยเมทัลชีทนั้นสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ทั้งแบบโฟม PU และแบบแผ่น
ในกรณีที่หลังคาไม่มีฝ้า หรือว่าเพดาน ทำให้ไม่สามารถติดแบบแผ่น หรือแบบโฟมได้ เพราะไม่มีตัวยึดฉนวนกันความร้อน จึงควรใช้ฉนวนกันความร้อนแบบพ่นแทน โดยพ่นไปที่หลังคา เพื่อให้หลังคามีความหนาขึ้น และกันความร้อนได้ดีขึ้น ไม่ทำให้แสงแดดส่องเข้ามาในบ้านมากเกินไป
SPI ฉนวนกันความร้อนPE 2มม.x120ซม.x50เมตร
SPI ฉนวนกันความร้อน PE เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีคุณสมบัติไม่มีการแตกตัวของผิว ไม่ร่วน และเป็นขุยผง ทำให้มีอายุการใช้งานที่นาน ไม่เป็นฝุ่นฟุ้งกระจาย อันตรายต่อผูัใช้งาน อีกทั้งยังสามารถกันความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SCG ฉนวนกันความร้อน สำหรับงานหุ้มท่อระบบปรับอากาศ 2.5x122x3050 ซม.
ฉนวนกันความร้อนของเอสซีจี เป็นฉนวนกันความร้อนสำหรับงานหุ้มท่อปรับอากาศ ที่มีการปิดผิวด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง 3 ทาง และชนิดไม่ลามไฟ 1 ด้าน ซึ่งมีความสามารถในการทนความร้อนได้ดี ไม่ลามไฟ หรือลุกไหม้ได้ง่าย
ไมโครไฟเบอร์ ฉนวนกันความร้อนNo.5 Plus ขนาด 2นิ้ว กว้าง60x400ซม.
ฉนวนกันความร้อนแบบไมโครไฟเบอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการติดตั้งได้ง่าย มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งชาวยให้บ้านเย็น อีกทั้งยังไม่ติดไฟได้ง่าย ซึ่งช่วยลดโอกาสของการลามไฟได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญได้รับฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5
ยิปรอค ฉนวนอิโซแวร์ ใยแก้ว24กก.2ม้วน/แพ็ค (หนา50xกว้าง 600 x ยาว 15000มม.)
ยิปรอค ฉนวนอิโซแวร์ ใยแก้ว มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้อย่างดี อีกทั้งยังสามารถกันเสียงได้อีกด้วย เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเงียบ อย่างห้องเธียเตอร์ ห้องอัดเสียง เป็นต้น นอกจากนี้ยิปรอค ฉนวนอิโซแวร์ ใยแก้วยังมีน้ำหนักเบา ไม่ยุบตัว และไม่ลามไฟด้วย
คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ
เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่
บริการช่างดี
เนื้อหาที่คล้ายกัน