img


รวมไอเทมแก้อาการออฟฟิศซินโดรม สำหรับมนุษย์ออฟฟิศ

อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคยอดฮิตในกลุ่มวัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่จะต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ มีโอกาสที่อาการจะยิ่งแย่ลง จนทำให้เกิดพังผืด และลุกลามไปยังระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ได้ สำหรับการดูแลในเบื้องต้นควรมีการยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะๆ พร้อมทั้งมีการนวดผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อบ้าง เพื่อแก้ออฟฟิศซินโดรม นอกจากวิธีเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งเคล็ดลับดี ๆ ที่ช่วยป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมได้ โดยการเลือกใช้อุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น Global House จะชวนไปดูกัน

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการทำกิจกรรมเดิมๆ ในท่าเดิมซ้ำๆ จึงเกิดการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้า หดเกร็ง และทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบขึ้นได้ ทำให้เกิดอาการปวดในบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ สะบัก ไหล่ และบ่า ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดอาการหดเกร็ง แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา กล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ ของร่างกายก็จะทำการดึงรั้งกล้ามเนื้อส่วนอื่น จนทำให้เกิดอาการปวดในบริเวณอื่นตามมา

ลักษณะอาการของออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดถือเป็นอาการแรก ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นในผู้ที่มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม โดยจะมีอาการปวดต้นตอ ปวดบ่า และรู้สึกตึงที่ไหล่ นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว ลักษณะของอาการออฟฟิศซินโดรมยังมีรูปแบบอื่น ๆ ด้วย ดังนี้

  • อาการชาที่ข้อมือ เมื่อต้องนั่งพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ และไม่ค่อยลุกไปไหน เส้นประสาทบริเวณข้อมืออาจเกิดการกดทับ ทำให้มีอาการชาที่ข้อมือ นิ้วมือ และแขนได้
  • นิ้วล็อค (Trigger Finger) อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่เมื่อเวลางอนิ้วแล้วไม่สามารถยืดให้ตรงได้ในทันที ซึ่งเกิดจากการใช้นิ้วพิมพ์งานมากเกินไป จนเกิดการเสียดสี และปลอกเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วหนาตัว ขึ้นจึงยืดหดได้ไม่เป็นไปตามปกติ
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis) การนั่งทำงานที่ผิดท่า ส่งผลให้เอ็นกล้ามเนื้อเกิดอาการหดเกร็ง เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบได้ ทำให้บริเวณที่อักเสบเกิดอาการปวด และบวม
  • ปวดหัว สำหรับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ที่มีอาการบ่าตึง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังบริเวณศีรษะได้ง่าย ๆ ทำให้เกิดอาการตาแห้ง และปวดตาตามมา นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้อีกด้วย
  • ปวดหลัง เมื่อนั่งทำงานนาน ๆ โดยที่มีวิธีในการนั่งที่ผิดวิธี อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังได้


ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศซินโดรม ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานในท่าทางเดิมซ้ำๆ และกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานเป็นประจำ

 กลุ่มพนักงานออฟฟิศ

กลุ่มพนักงานออฟฟิศ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมมากที่สุด ด้วยพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่งในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ อีกทั้งยังต้องก้มทำงาน และใช้นิ้วมือในการพิมพ์งานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการใช้งานกล้ามเนื้อในส่วนเดิมซ้ำๆ โดยที่แทบจะไม่มีการเคลื่อนไหวในส่วนอื่นเลย ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่ใช้ซ้ำๆ นั้นเกิดอาการหดเกร็ง และเกิดอาการปวดขึ้นมาได้ ยิ่งปล่อยทิ้งไว้ จนเกิดอาการปวดเรื้อรังก็จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบได้

ผู้ที่เล่นกีฬา หรือใช้แรงงาน


นอกจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศแล้ว ผู้ที่เล่นกีฬา หรือผู้ที่ใช้แรงงานเป็นประจำก็ยังเสี่ยงมีอาการออฟฟิศซินโดรมด้วย เนื่องจากการใช้ร่างกาย หรือกล้ามเนื้อในมัดเดิมซ้ำไปซ้ำมา จะทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ยิ่งมีการเคลื่อนไหวท่าทางแบบผิด ๆ ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระชากเร็วเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง และเฉียบพลันได้

แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ หรือมีการเคลื่อนไหวที่ผิดท่าก็ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรมนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่นั่งท่าเดิมซ้ำนาน ๆ มีการเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างการทำงาน พร้อมทั้งจะต้องมีการจัดระเบียบร่างกาย และมีท่าทางในการนั่งทำงานที่ถูกต้อง เพื่อลดโอกาสในการเกิดออฟฟิศซินโดรม นอกจากนี้ยังต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยยืดกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ 

อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดจากพฤติกรรมในการนั่งทำงาน และการใช้ท่าทางที่ผิดวิธี จนส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการอักเสบ และปวด ซึ่งการป้องกันออฟฟิศซินโดรมจำเป็นจะต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีความเหมาะสมกัน เพื่อให้ท่านั่งในการทำงานมีความถูกต้อง และไม่ทำให้เกิดอาการปวด ซึ่ง 9 ไอเทมเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่ดี ช่วยลดโอกาสในการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

 1. โต๊ะทำงานปรับระดับ

โต๊ะทำงานปรับระดับเป็นอุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรม สามารถป้องกันออฟฟิศซินโดรมที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน สำหรับโต๊ะปรับระดับได้นั้น เป็นโต๊ะทำงานที่ช่วยให้มีระดับที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังปรับท่าทางในการทำงานได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงาน หรือจะเปลี่ยนเป็นยืนทำงานบ้าง เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ทำให้กล้ามเนื้อมัดเดิมถูกใช้ซ้ำ ๆ นอกจากนี้การเลือกใช้โต๊ะทำงานปรับระดับได้ยังเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมต่อท่าทางในการนั่งทำงานอีกด้วย

การเลือกโต๊ะทำงานที่มีความเหมาะสมกับสรีระนั้นช่วยลดการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่ง SMITH โต๊ะเกมมิ่ง LED รุ่น MERCULAR-02 เป็นโต๊ะที่มีความสูงอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 100 กิโลกรัม

 2. เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ


เมื่อมีโต๊ะปรับระดับได้แล้ว จะขาดเก้าอี้สุขภาพไปไม่ได้ สำหรับเก้าอี้สุขภาพเพื่อทำงานนั้น เป็นเก้าอี้ที่ออกแบบมา เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการนั่งทำงานเป็นเวลานาน โดยเก้าอี้จะช่วยรองรับร่างกายของเรา ช่วยให้นั่งได้เป็นเวลานานโดยไม่ทำให้เกิดอาการปวด นอกจากนี้ยังสามารถปรับระดับให้เหมาะสมกับสรีระของเราได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการปรับส่วนของพนังพิง ที่วางแขน ระดับความสูง และแผ่นรองรับศีรษะ

SMITH เก้าอี้สำนักงาน รุ่น LINTON RED LP เป็นเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถนั่งได้นาน ๆ โดยไม่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดต้นคอได้ ด้วยการดีไซน์ให้สามารถปรับระดับให้เหมาะสมกับรูปร่างของผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับที่พักแขนด้วย


3. ที่นอนเพื่อสุขภาพ


นอกจากอุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรมที่ใช้ในสำนักงานแล้ว ยังต้องมีการเลือกที่นอนให้มีความเหมาะสมด้วย เพื่อช่วยรองรับสรีระของร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยที่นอนนั้นจะต้องเลือกแบบที่ไม่แข็งจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการกดทับ และไม่ควรเลือกที่นอนที่นิ่มจนเกินไปด้วย เพราะอาจทำให้เกิดการยุบตัวเมื่อนอน จะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน ดังนั้นควรเลือกที่นอนสุขภาพ ที่ช่วยรองรับร่างกายได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ยังควรเลือกที่นอนที่ไม่สะสมความร้อน และสามารถระบายอากาศได้ดี

ที่นอนยางพารา Truffle รุ่น Classic Sergovia มีการออกแบบให้มีความหนานุ่ม อีกทั้งยังมีความแน่นเป็นพิเศษ เมื่อนอนแล้วจะไม่มีความยวบ ทำให้ไม่ปวดหลัง อีกทั้งยังเลือกใช้ยางพาราคุณภาพดีที่ช่วยรองรับสรีระในการนอนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้นอนหลับได้อย่างสบาย

4. โซฟาเพื่อสุขภาพ


หลังเลิกงานแต่ละคนก็จะมีกิจกรรมที่ชอบทำต่างกันออกไป สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดูหนัง การนั่งดูหนังบนโซฟาสบาย ๆ ถือเป็นการพักผ่อนที่ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่จะต้องเลือกโซฟาเพื่อสุขภาพ ที่มีการออกแบบให้สามารถรองรับสรีระได้อย่างเหมาะสม เพราะสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม และบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี

การมีเก้าอี้ดี ๆ สักตัวไว้นอนดูทีวีในวันสบาย ๆ สามารถช่วยลดอาการปวดตัวได้เป็นอย่างดี สำหรับเก้าอี้พักผ่อน PULITO VALLENAR PU เป็นเก้าอี้ที่บุด้วยหนัง PVC ที่มีความทนทาน นั่งได้อย่างสบาย อีกทั้งยังสามารถปรับเอนได้ตามรูปแบบการใช้งาน ช่วยรองรับต้นคอและหลังได้เป็นอย่างดี เมื่อนั่งแล้วไม่ทำให้เกิดอาการปวด

5. หมอนรองคอ

หมอนรองคอเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่ช่วยป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ การใช้หมอนรองคอจะช่วยประคองศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอ หากเลือกหมอนรองคอที่สามารถปรับระดับได้ หรือที่ทำจากเมมโมรีโฟมก็จะช่วยให้มีความกระชับกับคอได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังมีความนุ่ม และสบายตัวด้วย

เมื่อต้องเดินทางนาน ๆ หมอรองคอเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้คอตั้งตรงได้อย่างถูกต้อง ไม่ทำให้เกิดอาการปวด ซึ่ง KOJI หมอนรองคอตัวยู รุ่นนี้ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง ที่มีความนุ่มแน่น และคืนตัวได้ดี อีกทั้งยังออกแบบให้สามารถรองรับสรีระบริเวณต้นคอได้เป็นอย่างดี ไม่ทำให้เกิดแรงกระแทก ช่วยลดอาการปวดต้นคอได้

6. เบาะรองนั่ง


การนั่งทำงานในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ นอกจากกล้ามเนื้อจะไม่ได้ยืดเหยียดแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อถูกกดทับเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการปวดได้ ซึ่งการใช้เบาะรองนั่ง มีส่วนช่วยในการปรับสรีระของร่างกายให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ไม่ทำให้เกิดแรงกดทับมากเกินไป อีกทั้งยังช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดอาการปวดบริเวณก้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งไอเทมบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ควรมี

เบาะรองนั่งของ COZY มีการออกแบบให้มีส่วนเว้าส่วนโค้งที่เหมาะสมกับสรีระ ช่วยให้สามารถนั่งทำงานได้อย่างสบาย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม ไม่ทำให้เกิดการปวดก้น และปวดเอว ที่สำคัญผลิตจากเมมโมรีโฟมคุณภาพสูง ที่คืนตัวได้อย่างดีเยี่ยมแม้จะนั่งเป็นเวลานานก็ตาม ถือเป็นอีกหนึ่งไอเทมแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ควรมี

7. เบาะรองหลัง


ท่านั่งที่มีความเหมาะสมในการทำงาน หรือท่านั่งที่ถูกต้องคือหลังจะต้องแนบไปกับพนักพิง ไม่โน้มตัวไปข้างหน้า หลังค่อม เพื่อมองจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางคนนั้นจะเผลอนั่งผิด ทำให้เป็นสาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย เบาะรองหลังจึงเป็นอุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรม ที่ช่วยป้องกันการนั่งผิดท่า และช่วยปรับสรีระให้มีความเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกาย ไม่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณก้นกบถูกกดทับนานๆ จนทำให้เกิดอาการปวดได้

เบาะรองหลัง COZY รุ่น VELVETY-V1 เป็นเบาะรองหลังเมมโมรีโฟม ที่สามารถปรับคืนรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยเปลี่ยนรูปทรงตามสรีระได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้นั่งทำงานได้อย่างสบายตัว ไม่เกิดอาการปวดหลังขณะนั่งทำงาน และช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม รวมถึงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เป็นอย่างดี

8. แผ่นรองเมาส์


อาการชาบริเวณข้อมือ นิ้ว และแขนนั้นเกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งการเลือกใช้แผ่นรองเมาส์นั้นสามารถช่วยลดอาการมือชาได้อย่างดี ด้วยการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุที่ทำแผ่นรองเมาส์ช่วยให้ซับพอร์ตข้อมือได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นประสาทเกิดการกดทับ 

9. ชั้นวางของเพิ่มความสูงจอคอม


การวางคอมพิวเตอร์ไว้ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เวลาพิมพ์งานจะต้องก้ม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ลามไปยังปวดบ่า และไหล่ตามไปด้วย ซึ่งการเลือกใช้งานชั้นวางจอ สามารถช่วยปรับระดับของคอมพิวเตอร์ให้มีความพอดีได้ โดยระยะที่ควรตั้งคอมพิวเตอร์นั้นควรอยู่ในระดับสายตา และวางจอให้ห่างจากตัวประมาณ 40-75 เซนติเมตร

 เทคนิคจัดโต๊ะทำงานให้นั่งนานไม่ปวดตัว


สภาพแวดล้อมที่ทำงานนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดโต๊ะทำงานให้ถูกต้อง เพื่อช่วยให้สามารถนั่งทำงานได้นาน ๆ โดยที่ไม่มีอาการปวดตัว ซึ่งแนวทางในการจัดโต๊ะทำงานที่เหมาะสมนั้น มีดังนี้

  • ปรับโต๊ะทำงาน และเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสม เมื่อนั่งแล้วแผ่นหลังตรง หัวไหล่รู้สึกผ่อนคลาย และที่พักแขนอยู่ในระดับที่วางได้โดยไม่ยกไหล่ขึ้น
  • จัดหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ระดับสายตา โดยควรมีระยะห่างจอประมาณ 40-75 เซนติเมตร 
  • เลือกใช้แผ่นรองเมาส์ที่ซับพอร์ตข้อมือ เพื่อลดการกดทับ
  • ใช้อุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรมต่างๆ เพื่อช่วยให้มีสรีระที่เหมาะสมกับการนั่งทำงานนานๆ 

 สรุปบทความ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่ต้องทำงานในท่าเดิม ๆ หรือมีการใช้ท่าทางที่ผิดวิธี เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานขนของ และนักกีฬา ซึ่งเมื่อทำงานในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ กล้ามเนื้อจะเกิดอาการตึงตัว จนทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า และไหล่ นอกจากนี้อาการออฟฟิศซินโดรมยังมีอาการปวดหัว มือชา และกล้ามเนื้อบวมอักเสบอีกด้วย ซึ่งการแก้ออฟฟิศซินโดรมนั้นจะต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนั่งทำงาน เลือกโต๊ะ เก้าอี้ทำงานที่สามารถปรับระดับให้เหมาะกับสรีระของเราได้ นอกจากนี้ยังต้องใช้อุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรมเข้ามาช่วย เพื่อให้สามารถนั่งทำงานนานๆ ได้โดยไม่เกิดอาการปวด 

สำหรับอุปกรณ์แก้ออฟฟิศซินโดรมก็มีด้วยกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นรองเมาส์ซับพอร์ตข้อมือ เบาะรองนั่ง ชั้นวางเสริมจอคอมพิวเตอร์ และเบาะรองหลัง สำหรับพนักงานออฟฟิศคนใดที่เริ่มมีอาการปวด ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าออฟฟิศซินโดรมใกล้มาเยือนแล้ว ดังนั้นควรมองหาอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกัน ซึ่งที่ Global House เป็นแหล่งรวมสินค้ามากมาย ให้คุณได้เลือกช้อป ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ตลอดไปจนถึงโต๊ะ เก้าอี้ที่เหมาะกับการนั่งทำงาน ช่วยลดอาการของออฟฟิศซินโดรมได้

คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ

  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 1,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 100 บาท
  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 9,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 1,000 บาท
  • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม แลกซื้อเครื่องดื่ม ที่ลามายอนคอฟฟี่ทุกสาขา

Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว

เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่

บริการช่างดี




เนื้อหาที่คล้ายกัน