img


ปูนซีเมนต์ คืออะไร มีกี่ประเภท และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสม

คลายข้อสงสัยทุกเรื่องเกี่ยวกับ “ปูนซีเมนต์” ในบทความนี้ได้เลย! ไม่ว่าจะเป็น… ปูนซีเมนต์คืออะไร? ปูนซีเมนต์มีกี่ประเภท? เลือกปูนซีเมนต์ยังไงให้เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด? ข้อควรระวังในการใช้งานปูนซีเมนต์มีอะไรบ้าง? และรวมไปถึงเคล็ดลับดีๆ ในการก่อผนังปูน ไม่ให้แตกร้าวง่าย เพราะ Global House (โกลบอลเฮ้าส์) คือผู้เชี่ยวชาญเรื่องบ้านตัวจริง ได้รวบรวมข้อมูลดีๆ มาให้คุณอ่านทำความเข้าใจในบทความนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หากเราพูดถึงงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้าน สร้างตึก ก่อผนัง ทำถนน ท่อระบายน้ำ สะพาน ฯลฯ ทุกอย่างล้วนต้องใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น เนื่องจากปูนซีเมนต์ทำหน้าที่คล้ายกับกาว ที่คอยเชื่อมโยงหรือยึดวัตถุเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นรากฐานและเพิ่มความแข็งแรงให้การงานก่อสร้างทุกชนิด

ซึ่งบ้านหนึ่งหลังจะประกอบด้วยองค์ประกอบมากมาย อาทิ เสา, คาน, พื้น, ผนัง, เพดาน, บันได, หลังคา ฯลฯ โดยแต่ละส่วนที่มีการใช้ปูนซีเมนต์ จะมีการใช้ปูนซีเมนต์ต่างประเภทกันไปตามความเหมาะสม เพื่อให้คุณสามารถเลือกปูนซีเมนต์ได้อย่างเหมาะสมกับรูปแบบงานก่อสร้าง เราจึงจะพาคุณมาทำความเข้าใจว่าปูนซีเมนต์มีกี่ประเภท และรู้ลึกรู้จริงเรื่องการนำไปใช้งาน ภายในบทความนี้


หัวข้อไฮไลท์

  • ปูนซีเมนต์ กับ คอนกรีต แตกต่างกันอย่างไร?
  • ปูนซีเมนต์ มีกี่ประเภท?
  • เลือกปูนซีเมนต์อย่างไร ให้เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด?
  • ห้ามพลาด! 4 ข้อควรระวังในการใช้งานปูนซีเมนต์
  • 9 เคล็ดลับ! ก่อผนังปูนอย่างไร ไม่ให้แตกร้าว
  • สรุปบทความ



ปูนซีเมนต์ กับ คอนกรีต แตกต่างกันอย่างไร?

หนึ่งในคำที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในงานก่อสร้าง คงจะไม่พ้นคำว่า “ปูน กับ คอนกรีต” อย่างแน่นอน ทั้งลักษณะ การนำไปใช้งาน มันช่างคล้ายกันเหลือเกิน จนทำให้คนที่ไม่ได้คลุกคลีในวงการนี้สับสนว่า “ปูน กับ คอนกรีต แตกต่างกันอย่างไร?” เรามาเริ่มกันจากการทำความเข้าใจว่าปูนซีเมนต์และคอนกรีตคืออะไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง กันก่อนดีกว่า


ปูนซีเมนต์ (Cement)


ปูนซีเมนต์ คือ สิ่งที่ได้จากผงปูนที่ได้จากกระบวนการแปรรูปจากโรงงาน ประกอบไปด้วย หินปูน หินดินดาน ดินเหนียว และแร่เหล็ก ซึ่งเป็นผงปูนที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปใดๆ หรือเรียกว่ายังไม่มีการนำไปผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ อย่าง น้ำ ทราย หรือหิน


คอนกรีต (Concrete)


คอนกรีต คือ สิ่งที่ได้จากการนำผงปูนมาผสมกับน้ำ ทราย กรวด หรือหิน และอาจจะมีการผสมน้ำยาอื่นๆ เพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพก็ได้ ซึ่งคอนกรีตจะอยู่ในสภาพของเหลวระยะหนึ่ง เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะแปรสภาพเป็นของแข็งในที่สุด

สรุปได้ว่า… ปูนซีเมนต์คือส่วนประกอบสำคัญของคอนกรีต ซึ่งปูนซีเมนต์ที่ยังไม่ได้แปรสภาพเป็นคอนกรีตนั้น ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ หากต้องการนำไปใช้งานจะต้องมีการผสมน้ำและวัสดุอื่นๆ ก่อนนั่นเอง


ปูนซีเมนต์ มีกี่ประเภท?


ปูนซีเมนต์ หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) เป็นสิ่งเดียวกัน แล้วแต่ว่าใครสะดวกเรียกว่าอะไร หากถามว่าปูนซีเมนต์ มีกี่ประเภท? คำตอบคือปูนซีเมนต์มีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน คือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แบบธรรมดา, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่แข็งตัวได้อย่างรวดเร็ว, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีความร้อนต่ำ และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่สามารถต้านซัลเฟตได้ดีเยี่ยม โดยมีรายละเอียด ดังนี้


1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่หนึ่ง เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดพื้นฐาน เหมาะกับการนำไปใช้งานทั่วๆ ไป ที่ไม่ได้ต้องการงานคุณภาพดีเป็นพิเศษ เช่น อาคาร, บ้านเรือน, ตึก, สะพาน, ถนน, เสา, ท่อน้ำ, คอนกรีตเสริมเหล็ก, พื้น หรือผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปต่างๆ ซึ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดามีความแข็งแรงทนทาน และสะดวกต่อการนำไปใช้งาน


2. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement) หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่สอง มีคุณสมบัติในการต่อต้านเกลือซัลเฟตได้ในระดับปานกลาง เหมาะกับการนำไปใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน หรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องสัมผัสน้ำหรือดิน เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อน สะพานท่าเรือ หรือกำแพงกันดิน เป็นต้น


3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ให้กำลังอัดสูงเร็ว


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ให้กำลังอัดสูงเร็ว (High Early Strength Portland Cement) หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่สาม มีความละเอียดมาก จึงมีคุณสมบัติพิเศษคือแข็งตัวเร็วกว่า และรับแรงได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทอื่นๆ เหมาะกับงานที่ต้องการความไว หรือเร่งใช้งาน


4. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีความร้อนต่ำ


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่มีความร้อนต่ำ (Low Heat Portland Cement) หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่สี่ มีคุณสมบัติในการควบคุมความร้อน ไม่ให้มีความร้อนมากเกินไปในขณะที่ปูนกำลังแข็งตัว ส่งผลให้สิ่งก่อสร้างนั้น ไม่แตกร้าวง่าย เหมาะกับการนำไปสร้างเขื่อนกั้นน้ำเป็นที่สุด


5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ต้านซัลเฟตได้สูง


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีคุณสมบัติต้านซัลเฟตได้สูง (Sulfate Resistance Portland Cement) หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ห้า มีความสามารถในการต้านทานเกลือซัลเฟตหรือสารที่เป็นด่างได้อย่างดีเยี่ยม จึงเหมาะกับงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับทะเลหรือดิน นอกจากนี้ ยังเป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีความแข็งตัวช้าที่สุดอีกด้วย


เลือกปูนซีเมนต์อย่างไร ให้เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด?

หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่าปูนซีเมนต์ มีกี่ประเภท ต่อไปเรามาดูการเลือกใช้งานปูนให้เหมาะกับการใช้งานบ้างดีกว่า นอกจากปูนซีเมนต์จะแบ่งประเภทตามคุณสมบัติได้แล้ว ยังสามารถแบ่งจากการนำไปใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งงานก่อสร้างนั้น สามารถแบ่งได้ 3 งานหลัก ๆ ได้แก่ งานโครงสร้าง งานก่อฉาบ และงานพิเศษ

ถ้าหากคุณรู้ว่าสิ่งที่คุณจะสร้างขึ้นมานั้น ควรใช้ปูนซีเมนต์ประเภทไหน จะทำให้คุณได้งานก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับการนำไปใช้งานมากที่สุด ทั้งมั่นคง ทนทาน แข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนาน และได้สเปกตรงกับที่คุณต้องการจริงๆ อีกด้วย


ปูนซีเมนต์ สำหรับงานโครงสร้าง

ปูนงานโครงสร้างเป็นงานที่ต้องการความแข็งแรงมากที่สุด ประกอบไปด้วยเสาบ้าน, คานบ้าน, พื้นบ้าน, บันไดบ้าน, ผนังบ้าน, หลังคาบ้าน, ฉนวนและฝ้าเพดาน และประตูหน้าต่าง เพราะงานโครงสร้างเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นฐานรองรับน้ำหนักทุกอย่างของบ้าน อีกทั้งยังเป็นตัวสานสัมพันธ์ให้ส่วนต่างๆ ของบ้านเชื่อมต่อกันด้วย


ประเภทปูนซีเมนต์ที่เหมาะกับงานโครงสร้าง

  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (เสา คาน พื้น หรือนำไปทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก)
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (สะพาน รากฐาน หรือตอม่อ)
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่มีความร้อนต่ำ (พื้น หรือเสา)
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีคุณสมบัติทนซัลเฟตได้สูง (สะพานหรือเสาของท่าเรือ)


ปูนซีเมนต์ สำหรับงานก่อและงานฉาบ

งานก่อและงานฉาบต้องการปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพในการยึดเกาะเป็นหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่ออิฐหรือฉาบปิดท้ายสำหรับตกแต่ง จึงไม่ต้องการความแข็งแรงหรือแรงอัดมากเท่างานก่อสร้าง


ประเภทปูนซีเมนต์ที่เหมาะกับงานก่อและงานฉาบ


ปูนซีเมนต์ สำหรับงานพิเศษ

งานพิเศษที่ต้องการความสวยงามและคุณภาพที่ดี จะใช้ปูนซีเมนต์ชนิดพิเศษ เพื่อให้ตอบโจทย์กับงานก่อสร้างดังกล่าวมากที่สุด จึงส่งผลให้ราคาปูนซีเมนต์ชนิดนี้สูงขึ้นตามไปด้วย อาทิ ปูนซีเมนต์ขาว ที่มีสีขาวสวยงาม หรือปูนซีเมนต์ขุดเจาะน้ำมัน ที่มีคุณสมบัติในการต้านทานเกลือซัลเฟต ความร้อน และแรงดันได้สูงเป็นพิเศษ เป็นต้น


ห้ามพลาด! 4 ข้อควรระวังในการใช้งานปูนซีเมนต์


ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างที่ดูเหมือนจะใกล้ชิดกับมนุษย์ จึงทำให้หลายคนมองข้ามความอันตรายของมันไป แต่จริงๆ แล้วมันมีความอันตรายอยู่ไม่น้อยเลยล่ะ เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานปูนซีเมนต์ เราต้องมาเช็กข้อควรระวังต่างๆ นี้ก่อน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น จะได้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและไม่เกิดอันตรายไปมากกว่าการระคายเคืองนั่นเอง


1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตรงๆ 

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับปูนซีเมนต์ตรงๆ รวมไปถึงต้องระมัดระวังไม่ให้ปูนซีเมนต์เข้าปากหรือตาด้วย ไม่ว่าจะเป็นผงปูนหรือปูนที่เปียกชื้นก็ตาม หากปูนซีเมนต์สัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เนื่องจากปูนซีเมนต์จะทำลายผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังชั้นใน และก่อให้เกิดแผลไหม้พุพองได้ แนะนำให้รีบล้างออกให้เร็วที่สุด

ถ้าปูนซีเมนต์กระเด็นเข้าตา แม้เพียงเล็กน้อยหรือเป็นเพียงเศษฝุ่นก็ตาม อาจจะเกิดบาดแผลที่กระจกตาได้ ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที นานอย่างน้อย 15 นาที และรีบไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน ส่วนกรณีที่ปูนซีเมนต์เข้าไปในปากของเราแล้ว จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ให้ดื่มน้ำตามมากๆ ห้ามอาเจียน และไปพบแพทย์โดยด่วนเช่นกัน


2. ควรสวมเสื้อผ้ามิดชิด

ความอันตรายจากการสัมผัสกับปูนซีเมนต์ตามที่เราได้บอกไป ส่งผลให้ช่างปูน ช่างคอนกรีต และช่างก่อสร้างต้องสวมเสื้อผ้าอย่างมิดชิด เพื่อให้แน่ใจว่าปูนซีเมนต์ที่กระเด็นมาโดน จะไม่สามารถแทรกซึมผ่านเข้ามาโดนผิวหนังได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือกันน้ำ รองเท้าบูท หรือแว่นตานิรภัยล้วนช่วยปกป้องร่างกายทั้งสิ้น


3. อันตรายต่อทางเดินหายใจ

ผงปูนซีเมนต์อาจโดนลมพัดและปลิวเข้าไปในทางเดินหายใจของคุณได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุโพรงจมูกและทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อย่างโรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น แม้จะเป็นการสูดดมฝุ่นละอองเพียงแค่น้อยนิดก็ตาม

หากรู้สึกว่าได้มีการสูดดมผงปูนซีเมนต์เข้าไป แนะนำให้ไปสูดอากาศในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกก่อน หากพบว่ายังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แสบจมูก จมูกอักเสบ หรือหายใจติดขัด ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด


4. การเก็บรักษาปูนซีเมนต์

ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างที่สามารถดูดความชื้นได้ดี หากเราวางปูนซีเมนต์ไว้ในตำแหน่งที่มีความชื้น อาจทำให้ปูนซีเมนต์เป็นเม็ดๆ หรือเป็นก้อนแข็งได้ หากเป็นเช่นนั้น เราจะต้องทิ้งปูนไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะว่าไม่สามารถนำไปใช้งานได้แล้ว


แนะนำให้เก็บปูนซีเมนต์ไว้ในพื้นที่แห้ง ยกสูงจากพื้นมากกว่า 1 ฟุตขึ้นไป กองไว้ในบริเวณที่ไม่เปียกชื้น มีผนังกั้นทั้ง 4 ด้าน และมีหลังคาปกคลุม เพื่อให้ปูนซีเมนต์ได้สัมผัสกับอากาศน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 1 เดือนในหน้าฝน และ 2 เดือนในหน้าร้อน จึงจะทำให้ปูนซีเมนต์มีประสิทธิภาพดีและเหมาะกับการนำไปใช้งานมากที่สุด


9 เคล็ดลับ! ก่อผนังปูนอย่างไร ไม่ให้แตกร้าว


“ผนัง” เป็นส่วนที่เราพบร่องรอยของความแตกร้าวได้บ่อยที่สุด เพราะปัญหานี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมาก ทั้งการผสมคอนกรีตผิดวิธี, การก่ออิฐผิดทาง, การก่อปูนหนาเกินไป, โครงสร้างผนังไม่แข็งแรง รวมไปถึงสาเหตุเรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อผนังเกิดรอยร้าว ก็จะทำให้บ้านของเราดูไม่สวยงาม และทำให้เราต้องรีบฉาบแก้ หรือหาสีมาทาปิดไว้ งั้นเรามาดู 9 เคล็ดลับในการก่อผนังปูนอย่างไร ไม่ให้แตกร้าวง่าย จากโกลบอลเฮ้าส์กันเลย!

1. ก่อนก่ออิฐต้องนำอิฐไปแช่น้ำก่อน 1 ชั่วโมง เพื่อให้อิฐอิ่มน้ำและไม่แย่งน้ำจากปูน

2. นำอิฐที่แช่น้ำจนเปียกชุ่มแล้ว ไปผึ่งลมให้ผิวด้านนอกแห้งหมาดในระดับหนึ่ง

3. ก่ออิฐแบบสลับแนว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงจากการประสานกันระหว่างชั้นอิฐ

4. ก่อชั้นปูนให้หนาเพียง 1-1.5 เซนติเมตรเท่านั้น ไม่ควรก่อให้หนามากเกินไปกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้ปูนทรุดตัวง่ายและเกิดรอยแตกร้าวไวขึ้นได้

5. มีเสาเอ็นและคานทับหลัง ที่มีความกว้างมากกว่า 15 เซนติเมตรหรือหนาเท่ากับอิฐ ไว้ทุกๆ ระยะ ความกว้าง 2.5 เมตร และความสูง 1.5 เมตร เพื่อกระจายน้ำหนักของอิฐ

6. มีเสาเอ็นที่มุมผนัง เพื่อให้อิฐได้มีตัวยึดและทำให้ผนังแข็งแรงขึ้น

7. เสียบเหล็กเส้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 6 มิลลิเมตรเข้าไปในเสาคอนกรีต เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐเคลื่อนตัวหลุดออกจากแนวเสา

8. ฉาบปูนด้วยเครื่องผสมปูน เพื่อเพิ่มความเนี้ยบ เพราะปูนจะเรียบเนียนเสมอกัน อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของช่างลงด้วย

9. หลังฉาบผนังเสร็จแล้ว ให้รดน้ำเพื่อบ่มผนัง (เลี้ยงน้ำ) วันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 3-7 วันแรก เพื่อพัฒนาความแข็งแรงให้แก่ปูนซีเมนต์


สรุปบทความ

เรียกได้ว่าบทความนี้ รวมครบ จบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์เลยก็ว่าได้! นอกจากจะทำให้คุณได้รู้ว่าปูนซีเมนต์มีกี่ประเภทแล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ในงานก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณจะสามารถเลือกปูนซีเมนต์ที่เหมาะกับงานของคุณได้อย่างถูกต้อง และสามารถก่อสร้างผนังหรือสิ่งต่างๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยที่ไม่มีปัญหาเรื่องรอยแตกร้าวต่างๆ ตามมา

ปูนซีเมนต์

เหล็ก


Global House ผู้นำด้านวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านในประเทศไทย เราเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากแบรนด์ดังชั้นนำมากมาย การันตีสินค้าคุณภาพ พร้อมบริการติดตั้ง โดยช่างมืออาชีพจากทั่วประเทศ ผ่านแอปพลิเคชันช่างดี (Chang D) นอกจากนี้ เรายังมีสาระน่ารู้ให้คุณได้เลือกอ่านกันเพียบ เรารวมฮิตทุกเรื่องที่คนรักบ้านควรรู้มาไว้ให้แล้วที่ GLOBAL IDEA ตามไปอ่านกันต่อได้เลย!

คุ้มค่าไปอีกขั้นแค่ สมัครสมาชิกโกลบอลคลับ ฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ สำหรับ สมาชิกโกลบอลคลับ เพียงช้อปครบ 50 บาท รับ 1 คะแนน สะสมโกลบอลคลับสะสมคะแนน เพื่อแลกเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า ที่โกลบอลเฮ้าส์ทุกสาขา ทั่วประเทศ

    • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 1,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 100 บาท

    • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม 9,000 คะแนน แลกรับคูปองแทนเงินสด 1,000 บาท

    • สิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิกโกลบอลคลับ เมื่อใช้คะแนนสะสม แลกซื้อเครื่องดื่ม ที่ลามายอนคอฟฟี่ทุกสาขา


Global House จัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ให้คุณครบจบในที่เดียว

เพื่อไม่ให้พลาดทุกโปรโมชันใหม่ๆ ทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง หรือสินค้าตกแต่งบ้าน สามารถติดตามและสั่งซื้อสินค้า Global House ได้หลากหลายช่องทางที่

    • Facebook: Global House โกลบอลเฮ้าส์

    • Line@: @globalhouse

    • App Click&Collect


บริการช่างดี

    • App ช่างดี

    • Facebook: ChangDeeService

    • Line Official: @Changdee





เนื้อหาที่คล้ายกัน