img


ติดตั้งเคาน์เตอร์ใหม่ง่ายๆ แค่ครึ่งวัน


     เคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูปดูร่าวัน

การสร้างเคาน์เตอร์มวลเบาโดยปกติทั่วไป จะเป็นการก่อแบบหล่อเปียก ขึ้นไม้และเทปูน ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 3 วัน เพื่อขึ้นรูปโครงส่วนต่างๆ หรือการรอปูนเซ็ทตัวในแต่ละขั้นตอนที่ทำ

แต่ปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นสินค้าใหม่ๆเข้ามาตอบโจทย์มากขึ้น อย่างที่เราจะมาแนะนำในรีวิวนี้ ก็คือ “เคาน์เตอร์มวลเบา” เคาน์เตอร์มวลเบาถือเป็นอีกทางเลือกที่ง่ายกว่า สะดวกกว่า และรวดเร็วกว่า สำหรับเจ้าของบ้านและพี่ช่าง ไม่ต้องใช้เวลากับการก่ออิฐผสมทราย หน้างานเลอะเศษหินเศษปูนน้อยกว่า ไม่ต้องขึ้นโครงเท Top ด้านบนเอง แถมยังสามารถปูวัสดุตกแต่งตามดีไซน์ที่เราอยากได้ได้ทันที

ส่วนประกอบของเคาน์เตอร์ครัว หลักๆ มีอยู่ 5 อย่าง

1. CC : COUNTER COLUMN หรือ เคาน์เตอร์ขา ซึ่งเป็นขาแนวตั้งของเคาน์เตอร์
2. CT : COUNTER TOP หรือ เคาน์เตอร์ท๊อป ซึ่งเป็นแผ่นเคาน์เตอร์ตัวบนสุด ที่เราใช้วางของใช้ต่างๆ
3. CS : COUNTER SINK หรือ เคาน์เตอร์ซิงค์ ซึ่งเป็นเคาน์เตอร์ที่มีขนาด โครงสร้างเหล็ก และช่องแบบพิเศษสำหรับเจาะเพื่อวางซิงค์ล้างจาน หรือซิงค์น้ำ
4. CG : COUNTER GAS หรือ เคาน์เตอร์ซิงค์ ซึ่งเป็นเคาน์เตอร์ที่มีขนาด โครงสร้างเหล็ก และช่องแบบพิเศษสำหรับเจาะเพื่อติดตั้งชุดเตาแก๊ส เตาอบ หรือเตาไฟฟ้า
5. CF : COUNTER FLOOR หรือ เคาน์เตอร์พื้น ซึ่งเป็นแผ่นพื้นส่วนล่างสุด

เคาน์เตอร์มวลเบา ผลิตจากอิฐมวลเบาเสริมเหล็ก ออกมาในลักษณะของแผ่นสำเร็จรูป ที่สามารถจับประกอบได้เลยเมื่อสินค้าถึงหน้างาน ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงก็เรียบร้อย

ขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่มีอะไรยาก เพียงแค่ใช้ปูนก่อมวลเบาฉาบเชื่อมชิ้นส่วนให้ต่อกัน และตกแต่งด้วยวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง , หินแกรนิต หรืออื่นๆ ตามดีไซน์ที่เราต้องการได้เลย

ส่วนเรื่องการรับแรงของวัสดุแผ่นมวลเบาก็ไม่ต้องกังวล เพราะทุกชิ้นส่วนของแผ่นเคาน์เตอร์ เสริมด้วยโครงสร้างเหล็กกันสนิม รับแรงได้ บอกได้เลยว่าปลอดภัย ไม่ต้องห่วงเรื่องหักเปราะใดๆ

ตัวอย่างเคาน์เตอร์ที่แผ่นมวลเบาเราสามารถประกอบออกมาได้ทั้งหมด 4 แบบ แล้วแต่การใช้งานของเราเลย

การสั่งซื้อเคาน์เตอร์ครัวสำเร็จแบบนี้ เราควรเตรียมขนาด และรูปแบบการวางที่ต้องการให้เรียบร้อย และเลือกใช้อิฐมวลเบาที่ได้มาตรฐานเพื่อการใช้งานระยะยาว ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานให้กวนใจ




เนื้อหาที่คล้ายกัน